Page 92 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 92
ด าเนินการส ารวจประเมิน วิเคราะห์ จัดท าระบบฐานข้อมูลขยะทะเล และศึกษาผลกระทบของขยะทะเลต่อสัตว์ทะเล
หายาก และผลกระทบของขยะทะเลต่อระบบนิเวศแนวปะการัง
๗.๑๐.๔ การแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด าเนินการจัดท ายุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ าของประเทศไทย เพื่อเป้าหมาย
ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. ๒๕๙๓ (ค.ศ. ๒๐๕๐) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emissions) ในปี พ.ศ. ๒๖๐๘ (ค.ศ. ๒๐๖๕) รวมถึงส่งเสริมโครงการลดก๊าซเรือนกระจก
ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) โดยใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๖ มีโครงการที่ได้การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) จ านวน
๖๗ โครงการ รวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ทั้งสิ้น จ านวน ๕.๑๓๔ ล้านตัน นอกจากนี้ ยังได้ด าเนินกิจกรรม
และโครงการที่สนับสนุนด้านการปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง
กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งด าเนินการจัดท าข้อมูล
และแผนที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยครอบคลุมด้านดินถล่ม แผ่นดินไหว และหลุมยุบ เพื่อประเมินสถานภาพ ก าหนดขอบเขต
พื้นที่เสี่ยงภัย และจัดท าแผน มาตรการ และแนวทางในการเตรียมความพร้อมป้องกันบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย
ต่าง ๆ ทั้งนี้ ได้ด าเนินการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงภัยให้แก่ประชาชน ภาคีเครือข่ายเฝ้าระวัง
ในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จ านวน ๗๘,๘๖๙ ครัวเรือน
๗.๑๐.๕ การพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยขับเคลื่อน
BCG Economy Model ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ ซึ่งมีการเปิดตัวเครื่องหมายและระบบการรับรอง “คาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจ
หมุนเวียน” (Carbon Footprint of Circular Economy Product: CE-CFP) โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองเครื่องหมาย
รับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน จ านวน ๔๗ ผลิตภัณฑ์
๗.๑๐.๖ การพัฒนากลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด าเนินการพิจารณา
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) รวม ๔๙๑ โครงการ
โดยได้พิจารณาและแจ้งผลการพิจารณารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม จ านวนทั้งสิ้น ๔,๙๐๐ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๖๙
ของจ านวนโครงการที่ส่งรายงาน นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดท ากฎหมายหลักและกฎหมายล าดับรอง จ านวน ๘ ฉบับ
๗.๑๐.๗ การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ
๑) ด าเนินการจัดการขยะและของเสียอันตราย เช่น จัดท าแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะ
ของประเทศ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๗๐) เพื่อเป็นแผนหลักส าหรับบูรณาการและขับเคลื่อนการด าเนินงาน
การจัดการขยะของประเทศให้เกิดความต่อเนื่อง ครอบคลุมการจัดการขยะพลาสติก ขยะบรรจุภัณฑ์ ขยะอาหาร
ขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียอันตรายชุมชน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มูลฝอยติดเชื้อ
และกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย รวมทั้งก าหนดกลไกการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เช่น การจัดการฝึกอบรม
“การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม” ใน ๔ ภูมิภาค การติดตามตรวจสอบ
และให้ค าแนะน าการปรับปรุงสถานที่ก าจัดขยะมูลฝอย การจัดล าดับพื้นที่ที่มีความส าคัญเพื่อเสนอรูปแบบเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมเพื่อยกระดับสถานที่ก าจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง จ านวน ๒,๐๒๑ แห่ง การก าหนดอัตราค่าบริการก าจัด
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
88 (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕) (๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)
๘๘