Page 91 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 91

ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

               ชื่อตัวชี้วัด      ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
               ค�านิยาม           ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
                                     กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง หมายถึง ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับ
                                  การคัดกรองความดันโลหิตสูงและมีค่าระดับความดันโลหิตตัวบนเฉลี่ย (SBP) ระหว่าง
                                  140-179 mmHg และ/หรือ ค่าความดันโลหิตตัวล่างเฉลี่ย (DBP) ระหว่าง 90-109
                                  mmHg ในเขตรับผิดชอบและยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
                                  ในปีงบประมาณ
                                     การได้รับการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัย หมายถึง กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดัน
                                  โลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน (ท�า Home Blood Pressure
                                  Monitoring (HBPM)) ติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน โดยจะต้องได้รับการติดตามวัด
                                  ความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านภายใน 90 วัน หรือ การตรวจวัดความดันโลหิตซ�้า
                                  ในสถานบริการสาธารณสุขเดิม ภายใน 90 วัน ด้วยวิธีการวัดที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
                                  ตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 สมาคม
                                  ความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย หลังจากได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงที่
                                  สถานบริการสาธารณสุข หรือในชุมชนแล้ว เพื่อรับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
                                    หมายเหตุ : การด�าเนินงานตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยความดัน
                                  โลหิตสูง สามารถด�าเนินการได้ 2 วิธี เป้าหมายผลลัพธ์ในการตรวจติดตามยืนยัน
                                  วินิจฉัย ≥ ร้อยละ 93 แต่ควรเน้นผลลัพธ์การตรวจติดตามโดยวิธีการวัดความดันโลหิต
                                  ด้วยตนเองที่บ้าน (ท�า Home Blood Pressure Monitoring (HBPM)) ≥ ร้อยละ 60
                                  จากกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงในปีงบประมาณ เนื่องจาก HBPM สามารถ
                                  ท�านายการเกิดโรคแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แม่นย�ากว่าการวัด
                                  ความดันโลหิตที่สถานบริการสาธารณสุข (OBPM) ดังนั้นหากมีความขัดแย้งของผล
                                  HBPM กับผลการวัดแบบ OBPM ให้ถือผลของ HBPM เป็นส�าคัญ
               เกณฑ์เป้าหมาย :

                 ปีงบประมาณ 66   ปีงบประมาณ 67   ปีงบประมาณ 68   ปีงบประมาณ 69   ปีงบประมาณ 70
                   ≥ร้อยละ 93      ≥ร้อยละ 95      ≥ร้อยละ 95      ≥ร้อยละ 95      ≥ร้อยละ 95

               วัตถุประสงค์       เพื่อยืนยันว่ากลุ่มสงสัยป่วยมีความดันโลหิตสูงจริงและส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการ
                                  วินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
               ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มสงสัยป่วย
                                  ความดันโลหิตสูงในปีงบประมาณ
                                  หมายเหตุ: ประชากรในเขตรับผิดชอบ หมายถึง ผู้มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน
                                  ในเขตรับผิดชอบและอยู่จริง (typearea 1) ผู้อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ทะเบียน
                                  บ้านอยู่นอกเขต (typearea 3) และPERSON.DISCHARGE=“9” (ไม่จ�าหน่าย)
                                  PERSON.NATION=“099” (สัญชาติไทย)

               วิธีการจัดเก็บข้อมูล  บันทึกผ่านโปรแกรมพื้นฐานของหน่วยบริการ และส่งออกข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูล
                                  43 แฟ้ม เข้าระบบ Health Data Center (HDC) On Cloud
               แหล่งข้อมูล        ระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข



                                                ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ  79  NCD
                                                                             พ.ศ.�2563-2566
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96