Page 200 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 200
ที่ถูกกล่าวถึง ซึ่งจะต่างจากการหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖
ซึ่งจะเป็นการกล่าวถ้อยคำอันเป็นการลดทอนคุณค่าทางสังคมของบุคคลที่ถูกกล่าวถึงต่อบุคคลที่สาม
จะเป็นคำหยาบคายหรือไม่ก็ได้ โดยสามารถสรุปข้อแตกต่างได้ว่า กฎหมายเรื่องดูหมิ่น
มุ่งคุ้มครองคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวผู้ถูกกระทำเอง แต่กฎหมายเรื่องหมิ่นประมาท
มุ่งคุ้มครองคุณค่าและความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ถูกกระทำมากกว่า
หากเป็นการกระทำการดูหมิ่น ให้ทราบไปถึงผู้อื่นได้ด้วย ก็ย่อมเป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่น
ด้วยการโฆษณา ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ได้ ยิ่งยุคปัจจุบันนี้สังคมออนไลน์กำลังมาแรง
ความนิยมในการโพสต์ข้อความผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต หรือ พิมพ์แชทข้อความตอบโต้กัน
ผ่านทางแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ หากข้อความมีเจตนาดูหมิ่นผู้อื่น แล้วทำให้ข้อความเหล่านั้นทราบไป
ถึงสาธารณะได้ หรือบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อความเหล่านั้นได้ เช่นนี้ก็ย่อมเป็นความผิดฐาน
ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณาได้
แต่มีข้อน่าสังเกตว่าความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา ๓๙๓ นั้น มีหลักการสำคัญ
อีกประการหนึ่ง คือ จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นได้ ต้องไม่ใช่กรณีที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวถ้อยคำดูหมิ่น
โต้ตอบกัน ตามแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๙/๒๔๙๐ การที่ต่างคนต่างด่ากันเป็นการทะเลาะกัน ต่างฝ่าย
ต่างก็โต้ตอบกันไปมา ไม่เป็นความผิด เพราะกฎหมายมาตรานี้ประสงค์จะเอาโทษในเรื่องบังอาจ
ดูหมิ่นเขาซึ่งหน้า เป็นการกระทำผิดต่อเขา มิใช่เรื่องต่างฝ่ายต่างสมัครใจทะเลาะด่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๖/๒๕๒๑ คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยกับ
นางประภาได้ทะเลาะวิวาทกัน และต่างคนต่างด่ากันว่า อีเหี้ย ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็น
ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๐/๒๕๓๔ พิเคราะห์แล้วเห็นว่าความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้านั้น
กฎหมายประสงค์จะลงโทษผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าแต่ฝ่ายเดียวโดยที่ผู้ถูกดูหมิ่นนั้นมิได้กล่าวถ้อยคำ
ดูหมิ่นโต้ตอบด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับจำเลยที่ ๑ ในคดีอาญาหมายเลขแดง
ที่ ๘๗๔๗/๒๕๓๐ ของศาลชั้นต้นต่างสมัครใจกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นซึ่งกันและกันจึงเป็นเรื่องที่ต่างฝ่าย
ต่างด่าโต้ตอบกัน การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๓
ดังนั้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การดูหมิ่นที่ต่างคนต่างดูหมิ่นโต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย ย่อมไม่เป็น
ความผิดตามกฎหมาย เพราะมาตรา ๓๙๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาประสงค์จะลงโทษผู้ที่
ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าแต่ฝ่ายเดียว โดยที่ผู้ถูกดูหมิ่นนั้นมิได้กล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโต้ตอบด้วย
สำหรับข้อสังเกตที่น่าสนใจกรณีที่ต่างฝ่ายต่างดูหมิ่นโต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย ไม่ถือเป็นความผิด
ตามกฎหมาย อีกประการหนึ่งของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๐/๒๕๓๔ ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งศาลฎีกา
มองว่าต่างฝ่ายต่างด่าตอบโต้กันไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๙๓ โดยจะนำหลักวินิจฉัยในกรณีต่างทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันมาปรับแก่กรณีนี้
มิได้ เพราะในคดีที่ต่างฝ่ายต่างทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกัน หรือแม้แต่ในคดีที่ต่างฝ่ายต่างขับรถ
โดยประมาทด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งอาจทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจ
ฟ้องคดีเองได้ แต่ในคดีทั้งสองลักษณะดังกล่าวเมื่อพนักงานอัยการฟ้องทั้งสองฝ่ายเป็นคดีอาญา
190 บทความ