Page 201 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 201

ศาลกลับพิพากษาลงโทษด้วยกันทั้งสองฝ่าย จึงน่าสังเกตว่าเพราะเหตุใดศาลจึงใช้หลักเกณฑ์ในการ
                วินิจฉัยการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวกับความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าต่างกัน ในเรื่องนี้
                มีความเห็นของนักกฎหมายมองว่าเหตุผลที่ศาลไม่ถือว่าการที่ต่างฝ่ายต่างดูหมิ่นซึ่งกันและกัน

                เป็นความผิด น่าจะไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหยุมหยิมเกินกว่าที่จะถือเป็น
                ความผิดนั้นเอง
                     จะเห็นได้ว่า ลักษณะของการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นผู้อื่น แม้เป็นเพียงการใช้ถ้อยคำ
                หรือวาจาคำพูด ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดบาดแผลทางกาย แต่การพูดหรือใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะสบประมาท
                เหยียดหยาม เปรียบเทียบ ทำให้ผู้ถูกดูหมิ่นเสื่อมเสีย ถือเป็นการลดทอนคุณค่าในตัวของผู้ถูกดูหมิ่น
                ซึ่งนอกจากจะสร้างความอับอาย วิตกกังวลแล้ว อาจสร้างความเครียด เก็บกด ซึ่งอาจส่งผลถึงขั้น
                เป็นโรคซึมเศร้า หรือหวาดกลัวสังคมได้ ซึ่งไม่ต่างจากผู้ป่วยจิตเวชที่มีสาเหตุมาจากการถูกผู้อื่นบูลลี่
                ในสังคมปัจจุบัน จึงถือเป็นบาดแผลทางใจที่เจ็บปวดต่อผู้ที่ถูกกระทำไม่น้อย เพื่อเป็นประโยชน์
                แก่ผู้อ่านบทความนี้ จึงได้รวบรวมถ้อยคำที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาว่า ถือเป็นความผิดฐานดูหมิ่นไว้ ดังนี้

                
    “อีหน้าหมู อีหน้าหมา”        (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๘๙/๒๕๑๑)
                
    “อีสัตว์”                    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๒๐/๒๕๑๘)
                
    “อีดอก”                      (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๐๒/๒๕๒๑)
                
    “พระหน้าผี พระหน้าเปรต”   (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐/๒๕๒๗)
                
    “ผู้หญิงชั่ว”                (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๑๗๓/๒๕๕๘)
                
    “อีกะหรี่”                   (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๓๘๔/๒๕๕๗)
                
    “อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย”     (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๒๕๗/๒๕๔๘)

                
    “ไอ้ระยำ ไอ้เบื๊อก ไอ้ตัวแสบ”   (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๓๑/๒๕๓๘)
                
    “ผู้หญิงต่ำ ๆ”               (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๕๖/๒๕๓๗)  เป็นต้น

                     และแม้ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าจะมีลักษณะการกระทำความผิดคล้ายกับความผิด
                ฐานหมิ่นประมาท แต่ความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ ส่วนความผิด
                ฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า แม้จะอยู่ในหมวดลหุโทษ แต่เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ทั้ง ๆ ที่เรื่อง
                ดูหมิ่นซึ่งหน้ามุ่งเพียงแต่คุ้มครองคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ถูกกระทำเท่านั้น ไม่ได้กระทบต่อคุณค่า
                ทางสังคมแต่อย่างใด แต่กฎหมายกลับกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ผู้เสียหาย
                จึงสามารถฟ้องคดีได้เองภายในกำหนดอายุความ  และพนักงานอัยการสามารถฟ้องคดีได้

                โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
                     เมื่อท่านได้อ่านบทความมาถึงตรงนี้ คงได้พอเห็นแล้วว่าจากคดีที่ยกตัวอย่างมาแต่ต้น
                บางครั้งบางที่การที่คนเราตกเป็นผู้กระทำความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นนั้น อาจเกิดขึ้นเพียงเพราะ
                ความสนุกชั่ววูบ ความโกรธชั่วคราว หรือเป็นเพียงการตัดสินใจชั่วขณะเท่านั้น แต่สำหรับผล
                ที่ตามมาอาจทำให้ท่านต้องกลายเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยไป และกลับกันก็อาจส่งผลให้เกิดแผล
                ทางใจไปอีกยาวนานสำหรับผู้ที่ถูกท่านกระทำการดูหมิ่น ดังนั้น หากพลาดพลั้งเกิดเหตุเป็น
                คดีความส่งผลไปถึงการดำเนินคดีในความผิดฐานนี้ขึ้นมาแล้ว แต่คดีนี้แม้ผู้กระทำความผิด

                คิดได้ขึ้นมาภายหลัง อยากจะแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาด้วยอารมณ์ชั่ววูบของตนเสีย




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  191
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206