Page 202 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 202
โดยผู้ถูกกระทำให้ความยินยอมไม่ติดใจเอาเรื่องเอาความแล้วก็ตาม แต่เมื่อความผิดฐานดูหมิ่น
ยอมความไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ความผิดลักษณะนี้สังคมก็มองว่าการฟ้องคดีแก่ผู้กระทำความผิดแบบนี้ไป
ก็ไม่ได้ทำให้สังคมได้ประโยชน์ใหญ่หลวงใด ๆ ขึ้นมา ถ้าเช่นนั้นทางออกควรเป็นอย่างไร
มุมมองของผู้เขียนเห็นว่า ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒
ในชั้นพนักงานสอบสวนใช้บังคับแล้ว ซึ่งความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๙๓ มีหลักเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิด
ลหุโทษอื่น ๆ ที่ไม่รุนแรงต่อสังคม รวมทั้งเป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
ดังนั้น ความผิดฐานดูหมิ่นจึงสามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยดังกล่าวได้ อันเป็นการแก้ไขปัญหา
สำหรับความผิดเล็กน้อยที่ไม่กระทบต่อสังคมรุนแรง ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
ก่อนฟ้องและเพื่อไม่ให้คดีเล็กน้อยเหล่านี้เข้าไปสู่กระบวนการทางศาลมากเกินความจำเป็นได้
นั่นเอง
จึงอยากแนะนำว่าหากเกิดความผิดพลาดเป็นคดีฐานดูหมิ่นผู้อื่นขึ้นมาด้วยสาเหตุอารมณ์
วู่วามเพียงชั่วขณะ และเมื่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถยุติความขัดแย้งกันเองได้แล้ว และไม่ประสงค์
ให้เป็นคดีความขึ้นสู่ศาล ก็ควรจะได้ลองพิจารณาเลือกช่องทางขอรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ในชั้นสอบสวนตามที่ได้มีกฎหมายเปิดช่องไว้ให้ดู อย่างน้อยก็จะได้ช่วยตัดตอนไม่ให้มีคดีเล็ก ๆ
น้อย ๆ เข้าสู่กระบวนการทางศาลไปได้ด้วย
ถึงตรงนี้ ผู้เขียนอยากให้ข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า เมื่อวันนี้เราท่านต่างเกิดมาและมีชีวิตอยู่ในยุคที่
เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า การที่คนเราจะดูหมิ่น หรือบูลลี่ผู้อื่นในโลกออนไลน์ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายดาย
เพียงแค่ปลายนิ้วมือ หากเราท่านไม่รู้จักรับมือกับอารมณ์โกรธชั่วขณะ หรือเพียงท่านนึกสนุก
คะนองปากเพียงชั่ววูบ วันหนึ่งเราท่านอาจตกเป็นเหยื่อของการถูกดูหมิ่นหรือบูลลี่ทางโซเชี่ยล
จากผู้ที่เราไม่เคยแม้แต่จะเห็นหน้ากันเลย หรืออาจตกเป็นเหยื่อ ร่วมเป็นผู้กระทำการดูหมิ่นหรือ
บูลลี่ผู้อื่นหรือแม้กระทั้งกลายเป็นผู้เริ่มกระทำความผิดนั้นขึ้นเองโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้
192 บทความ