Page 60 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 60
51
การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอาจเข้าไปมีส่วนร่วมต่อระบบทาง
ด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ สถานประกอบการ องค์กร
ทางสังคม และการเมือง โดยการเข้าไปเป็นคณะกรรมการใน
การก�หนดนโยบายต่าง ๆ การสะท้อนมุมมองและปัญหาที่มักจะ
เกิดขึ้นกับคนพิการให้กับผู้ก�หนดนโยบาย และมีส่วนร่วมในการ
สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อท�การป้องกัน
หรือบรรเทา การเกิดขึ้นของปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย
และจิตใจ เป็นต้น
การให้บริการผู้รับบริการทางอ้อม: การให้การสนับสนุนและ
การเป็นที่ปรึกษา (Indirect Client Services: Advocacy and
Consultation)
ผลกระทบของสภาวะแวดล้อมจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เมื่อผู้ให้บริการปฏิบัติหน้าที่กับคนพิการ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้รับ
บริการแต่ละคนสามารถที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการ
ผู้ให้บริการจะต้องให้การสนับสนุน ด้วยการเข้าไปมีบทบาทใน
สภาวะแวดล้อมของผู้รับบริการ พยายามที่จะผลักดันความรู้สึก
ของผู้รับค�ปรึกษาให้เป็นอิสระและมีศักยภาพ และช่วยให้ผู้รับ
ค�ปรึกษาสามารถน�ทรัพยากรที่มีอยู่ในตนเองและชุมชนมาใช้
ให้เป็นประโยชน์สูงสุด
ในการที่จะเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในตนเองและชุมชน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ให้บริการจะต้องให้ข้อมูลแก่คน
พิการ เกี่ยวกับเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือที่จะช่วยให้
ผู้รับค�ปรึกษาสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง
ได้ เครือข่ายดังกล่าวประกอบไปด้วยหน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับ
ปัญหาของผู้รับบริการ นอกจากการส่งตัวผู้รับค�ปรึกษาไป
รับการบริการแต่ละด้านแล้ว บ่อยครั้งที่ผู้ให้ค�ปรึกษาจะต้อง
เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้การส่งเสริมด้วยการให้การสนับสนุน
การให้ก�ลังใจผู้รับบริการ เนื่องจากบ่อยครั้งคนพิการต้องเผชิญ
กับระบบทางราชการที่เข้มงวด และเผชิญกับบุคคลที่มีเจตคติ