Page 77 - การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการ เพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
P. 77
68
การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ
3) การสอนบุคคล (Teaching others) บางครั้งผู้รับ
ค�ปรึกษาอาจต้องใช้การสอนเกี่ยวกับหลักการของ แนวคิด REBT
เมื่อบุคคลอื่นแสดงความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล เพื่อช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้ความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) การแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นการช่วยเหลือบุคคล
ให้มีทางเลือกเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการที่จะท�และต้องการที่จะเป็น
ช่วยเหลือให้เลือกความคิด ความรู้สึก และการกระท�ที่มีเหตุผล
มากกว่าการถูกแนะน�โดยความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลที่คิดว่าตน
ถูกเสมอ ช่วยให้ผู้รับค�ปรึกษาคิดถึงทางเลือกที่เป็นไปได้โดย
การจัดการกับทั้งปัญหาทางการปฏิบัติ เช่น การหางาน และ
ปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ความกังวลและวิตกกังวลเกี่ยวกับ
การได้งาน เป็นต้น
5) การจินตนาการ (Imagery) เป็นการช่วยให้ผู้รับค�ปรึกษา
เปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสมไปสู่ความรู้สึกที่เหมาะสม
โดยให้ผู้รับค�ปรึกษามีจินตนาการในทางลบด้วยความรู้สึกที่ผิด
หวังและเสียใจ และให้เขาได้เรียนรู้กับประสบการณ์ที่เหมาะสม
เพื่อท�ความเข้าใจและเรียนรู้ในประสบการณ์ที่เหมาะสมมากขึ้น
6) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing) การแสดง
บทบาทสมมุติ เป็นการฝึกซ้อมพฤติกรรมที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้
จริง เพื่อที่จะดึงความรู้สึกของผู้รับค�ปรึกษาออกมา ท�ให้เห็น
อารมณ์ที่ผู้รับค�ปรึกษายังไม่ตระหนักรู้
7) การท�กิจกรรมเป็นการบ้าน (Activity homework) ผู้ให้
ค�ปรึกษาอาจจะมอบหมายกิจกรรมที่จะลดความเชื่อที่ไม่มี
เหตุผล เมื่อผู้รับค�ปรึกษาอยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกว่าคนอื่น
ควรจะปฏิบัติกับตนเองอย่างเท่าเทียม ผู้ให้ค�ปรึกษาอาจจะ
เสนอแนะว่าให้ลองเผชิญอยู่ในสถานการณ์ที่อึดอัดใจและเรียนรู้
ตนเองเพื่อที่จะจัดการกับภารกิจที่หนักและอึดอัดใจ การลองอยู่
ในเหตุการณ์จริงบางอย่าง ตนเองอาจจะพบกับความวิตกกังวล
แต่สามารถที่จะท�ให้เข้าใจถึงความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลที่ส�คัญที่
ซ่อนอยู่ภายใต้อารมณ์ของตนเองได้