Page 50 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 50

การยกระดับธนาคารออมสินสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม

                    เต็มรูปแบบ




                 ในปี 2563 ธนาคารออมสิน ได้แสดงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในการเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” หรือ Social Bank อย่าง
            เต็มรูปแบบ เพื่อให้ธนาคารเข้ามามีบทบาทสำาคัญ ในการ “ลดความเหลื่อมลำ้าและสร้างความเป็นธรรมในสังคม” ทำาให้ประชาชน
            ที่เป็นลูกค้ากลุ่มหลักของธนาคารเข้าถึงบริการทางการเงิน ลดภาระ ยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อให้หลุดพ้น
            จากความยากจน และสร้างสังคมที่เป็นสุข






                     ปัจจุบันลูกหนี้กลุ่มนอนแบงก์ ทั้งระบบมีมากถึง 25.38 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 481,000 ล้านบาท

                      แบ่งเป็นสินเชื่อบุคคลและบัตรกดเงินสด 48%, บัตรเครดิต 31% สินเชื่อจำานำาทะเบียนรถยนต์ 21%
                     การวางตำาแหน่งการเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” นั้นจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าจากทุกที่เข้ามา รีไฟแนนซ์หนี้
                           กับธนาคารได้ เพื่อช่วยลดภาระลูกหนี้ผู้ที่มีรายได้น้อยให้เข้าถึงสินเชื่อที่ดอกเบี้ยถูกลง







                 การแสดงความมุ่งมั่นในการเป็น Social Bank ของธนาคารออมสินครั้งนี้ถือเป็นการรุกเข้าสู่ธุรกิจนอนแบงก์ (Non-Bank)
            หรือ “ผู้ให้บริการการเงิน ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์” ซึ่งสินเชื่อนอนแบงก์ถือเป็นสินเชื่อในระบบที่เป็นที่พึ่งยามยากของคนระดับฐานราก
            ถึงคนชั้นกลาง ทั้งสินเชื่อบุคคล บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต สินเชื่อจำานำาทะเบียนรถ เป็นต้น





                                                     ธนาคารออมสิน
                               ได้กำาหนดเป้าหมายการเป็นแหล่งเงินทุนที่ให้สินเชื่อนอนแบงก์ (Non-Bank)

                                      ในอัตราดอกเบี้ยที่ตำ่ากว่าดอกเบี้ยในตลาด 8-10% ต่อปี
                                       โดยดอกเบี้ยในปัจจุบันของตลาดอยู่ที่ 24-28% ต่อปี








                  กลุ่มลูกค้า 3 กลุ่มหลัก คือ




                                                1. ผู้มีรายได้น้อย   2. ผู้ประกอบการ   3. องค์กรชุมชน
                                                  อาชีพอิสระ     รายย่อย (พ่อค้าแม่ค้า)












           46     ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55