Page 17 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 17
n เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Safety Officer : SO) ในเหตุการณ์ขนาดเล็กที่ไม่มี
ความสลับซับซ้อน และมีเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุร่วมปฏิบัติงานไม่มากนัก ผู้บัญชาการ
เหตุการณ์สามารถดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ได้ด้วยตนเอง แต่ในเหตุการณ์
ขนาดใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อน เช่น สารเคมี วัตถุอันตราย จ�าเป็นต้องมี
ผู้เข้ามาท�าหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่เผชิญเหตุโดยตรง
เพื่อก�าหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ปลอดภัย ให้ข้อแนะน�า เสนอแนะการใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์ วิธีการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงภัยแก่เจ้าหน้าที่
n เจ้าหน้าที่ประสานงาน (Liaison Officer : LO) บทบาทของเจ้าหน้าที่ประสานงานนั้น
เป็นมากกว่าผู้ประสานงาน แต่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในการจัดการ
กับประเด็นข้อห่วงใย ข้อกังวล ข้อสงสัย ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่อยู่ภายนอกท�างานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภายนอก
ที่เข้ามาสนับสนุน แจ้งข้อมูลแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
หน่วยงานภายนอก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประสานงาน และข้อมูลกับเจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ จัดท�าก�าหนดการ และการต้อนรับบุคคลส�าคัญ (VIP) และ
จัดท�าท�าเนียบการติดต่อประสานงาน ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายใน
และภายนอกพื้นที่เกิดเหตุ
n เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Information Officer : PIO) มีหน้าที่ก�ากับดูแล
การปฏิบัติของ “ศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม” (Joint Information Center : JIC)
ซึ่งท�าหน้าที่รวบรวมและแจกจ่ายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ โดยผ่านการอนุมัติ
ของผู้บัญชาการเหตุการณ์ ช่วยเหลือ สนับสนุน ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในประเด็น
ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารสาธารณะ ด�าเนินกิจการที่เกี่ยวกับสื่อสารมวลชน
เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ และการประชุมวางแผน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับ
เหตุการณ์ และแจกจ่าย แลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวกับเจ้าหน้าที่ส่วนงานอื่น ๆ
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (General Staff) ประกอบด้วย ส่วนปฏิบัติการ ส่วนอ�านวยการ
และส่วนสนับสนุน มีหัวหน้าส่วน ซึ่งอาจมีรองหัวหน้าส่วนหนึ่งคนหรือมากกว่าได้ในเหตุการณ์ขนาดใหญ่
พื้นที่เกิดเหตุกว้างขวาง มีจ�านวนเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุมาก และหากเป็นการใช้ระบบบัญชาการร่วม อาจมี
การมอบหมายให้แต่ละส่วนราชการที่เข้าร่วมจัดส่งบุคลากรร่วมเป็นหัวหน้าส่วนโดยผลัดเปลี่ยนกัน
ท�าหน้าที่ผู้อ�านวยการและรองผู้อ�านวยการ ในแต่ละห้วงเวลาปฏิบัติการ (Operation Period)
ส�าหรับในประเทศไทย ได้มีการน�าระบบบัญชาการเหตุการณ์มาใช้ในการจัดการ
ภาวะฉุกเฉินและเป็นระบบในการจัดการสาธารณภัยทั้ง 4 ระดับ โดยแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แห่งชาติ พ.ศ. 2558 การก�าหนดโครงสร้างกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.)
เป็นไปตามโครงสร้างองค์กรระบบบัญชาการเหตุการณ์ โดยแต่ละส่วนงานมีอ�านาจหน้าที่ ดังนี้
คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ 9
Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System