Page 12 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 12

ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในเขตพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียง และหรือกองอ�านวยการป้องกันและ
          บรรเทาสาธารณภัยอ�าเภอ

                       2)  ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อ�าเภอ (ศบก.อ.) ให้กองอ�านวยการป้องกันและบรรเทา
          สาธารณภัยอ�าเภอจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อ�าเภอเมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นโดย
          มีผู้อ�านวยการอ�าเภอเป็นผู้ควบคุมและสั่งการ เพื่อท�าหน้าที่ในการจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่า
          สถานการณ์จะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพก�าลังและทรัพยากร
          ในการจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้น รวมทั้งอ�านวยการ และประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
          ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การสาธารณกุศลในพื้นที่
          ที่รับผิดชอบได้อย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว และทั่วถึง

                       3)  ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด/กรุงเทพมหานคร  (ศบก.จ./ศบก.กทม.)
          ให้กองอ�านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด/กรุงเทพมหานครจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
          จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้น โดยมีผู้อ�านวยการจังหวัด/ผู้อ�านวยการ
          กรุงเทพมหานคร เป็นผู้สั่งการ ควบคุม และบัญชาการ เพื่อท�าหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสาธารณภัย
          ในพื้นที่จังหวัด/กรุงเทพมหานครจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการระดม
          สรรพก�าลังและทรัพยากรในการจัดการสาธารณภัยจากส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน

          ให้แก่กองอ�านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ รวมทั้งอ�านวยการและประสานการเผชิญเหตุ
          ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การ
          สาธารณกุศลในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ
                       4)  ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้ศูนย์บัญชาการ
          เหตุการณ์จังหวัด/กรุงเทพมหานครแปรสภาพเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
          ของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ในกรณีเมื่อมีการยกระดับเป็นการจัดการ

          สาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) หรือการจัดการสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ 4) ให้มีหน้าที่
          ปฏิบัติงานตามการบัญชาการจากกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยรับผิดชอบ
          อ�านวยการ ควบคุม ปฏิบัติงาน และประสานการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          ในเขตพื้นที่จังหวัด/กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพก�าลังและทรัพยากร
          เพื่อการจัดการสาธารณภัย และประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร
          ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การสาธารณกุศลในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

                       5)  กองอ�านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง  (กอปภ.ก.) ในกรณี
          การจัดการสาธารณภัยขนาดเล็ก  (ระดับ  1)  และการจัดการสาธารณภัยขนาดกลาง  (ระดับ  2)
          ให้กองอ�านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางรับผิดชอบอ�านวยการ  ประสานการปฏิบัติ
          ประเมินสถานการณ์ และสนับสนุนกองอ�านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่ละระดับ รวมทั้ง
          ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ รายงาน และเสนอความคิดเห็นต่อผู้บัญชาการ
          ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  หรือนายกรัฐมนตรี เพื่อตัดสินใจยกระดับเป็นการจัดการ
          สาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) หรือการจัดการสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ 4)





           4   คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
               Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17