Page 10 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 10

และภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยรัฐบาลได้เร่ง “ยกระดับ” การจัดการสาธารณภัยของประเทศ เทียบเท่ามาตรฐาน
          สากล ภายในกรอบการด�าเนินงาน “เซนได” (The Sendai Framework for Disaster Risk Reduction)
          ซึ่งเป็นกรอบการด�าเนินงานส�าหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติของโลก โดยมุ่งเน้นการลดความเสี่ยง
          จากภัยพิบัติ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ก�าหนดให้มีแผนป้องกัน
          และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ขึ้น ก�าหนดแนวทางเตรียมความพร้อม 3 ขั้นตอน คือ

          ขั้นก่อนเกิดภัย ขั้นขณะเกิดภัย และขั้นหลังเกิดภัย ผ่านระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command)
                       ขอบเขตสาธารณภัย

                       ขอบเขตสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติให้เป็นไป
          ตามความหมาย “สาธารณภัย” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          พ.ศ. 2550 ดังนี้ “อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น�้า
          การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ
          มีผู้ท�าให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือ
          ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และ

          การก่อวินาศกรรมด้วย”
                       ระดับการจัดการสาธารณภัย

                       ระดับการจัดการสาธารณภัยแบ่งเป็น 4 ระดับ ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นที่ ประชากร ความซับซ้อน
          หรือความสามารถในการจัดการสาธารณภัย ตลอดจนศักยภาพด้านทรัพยากร ที่ผู้มีอ�านาจตามกฎหมาย
          ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าควบคุมสถานการณ์เป็นหลัก ดังนี้


           ระดับ       ความรุนแรง                             การจัดการ

            1    สาธารณภัยขนาดเล็ก      อ�าเภอ (ผู้อ�านวยการอ�าเภอ/นายอ�าเภอ) องค์กรปกครองส่วน
                                        ท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนต�าบล (อบต.)/เทศบาล/
                                        เมืองพัทยา (ผู้อ�านวยการท้องถิ่น ได้แก่ นายก อบต./
                                        นายกเทศมนตรี/นายกเมืองพัทยา) ส�านักงานเขตกรุงเทพมหานคร
                                        (ผู้ช่วยผู้อ�านวยการ กทม./ผู้อ�านวยการเขตในแต่ละเขตของ กทม.)
                                        สามารถควบคุมสถานการณ์ระงับภัยได้โดยล�าพังตามขีด
                                        ความสามารถ ไม่ต้องการก�าลังสนับสนุนจากภายนอก

            2    สาธารณภัยขนาดกลาง      เกินขีดความสามารถของผู้รับผิดชอบในการจัดการภัยระดับ 1
                                        ท�าให้ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และบริหารจัดการระงับภัย
                                        ได้โดยล�าพัง ผู้อ�านวยการจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด)/
                                        ผู้อ�านวยการ กทม.(ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร)

                                        เข้าควบคุมสถานการณ์/บัญชาการเหตุการณ์







           2   คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
               Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15