Page 9 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 9
บทที่ 1
บทน�า
1.1 กรอบแนวทางการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตในระดับชาติ
ของประเทศไทย
1.1.1 แผนการเตรียมพร้อมแห่งชาติ
ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อน ครอบคลุมเชื่อมโยง
ในหลายมิติที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ให้ความส�าคัญกับ
การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
ส�านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้จัดท�าแผนการเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2564)
เพื่อเตรียมพร้อมใน 3 ด้าน ประกอบด้วย
1) ด้านสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ได้ก�าหนดแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เพื่อเป็น
หลักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2) ภัยจากการสู้รบ กระทรวงกลาโหม โดยกรมการสรรพก�าลังกลาโหม ได้ก�าหนดแผน
ผนึกก�าลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อเป็นหลักในการป้องกันประเทศ
3) ภัยด้านวิกฤตการณ์ความมั่นคง อาทิ เครือข่ายการก่อการร้ายสากล องค์กร
อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อวินาศกรรม การก่อจลาจล ความมั่นคงทางทะเล
ความมั่นคงทางไซเบอร์ และปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ เป็นต้น
1.1.2 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
จากภัยคุกคามทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ภัยจากสาธารณภัยถือเป็นภัยคุกคามที่มีความเสี่ยงสูง
และเกิดขึ้นเป็นประจ�าทุกปี จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ (World Population Prospects :
The 2019 Revision, UN) พบว่า จากการเพิ่มของประชากรโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,600 ล้านคน
ในปี 2030 ประกอบกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้
ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้อย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย เช่น “ภาวะโลกร้อน”
(Global Warming) จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมในชั้นบรรยากาศซึ่งมีผลกระทบให้สภาพ
ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดสภาวะอากาศแปรปรวน สภาพอากาศเลวร้ายและสาธารณภัยขึ้นบ่อยครั้ง
ประเทศไทยจึงได้จัดให้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ
คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1
Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System