Page 11 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 11

ระดับ       ความรุนแรง                              การจัดการ

               3    สาธารณภัยขนาดใหญ่      เกิดผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง มีพื้นที่เสียหายเป็นบริเวณกว้าง
                                           เกินขีดความสามารถของจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ไม่สามารถ
                                           ควบคุมสถานการณ์ได้ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ/อุปกรณ์พิเศษ/
                                           ก�าลังสนับสนุนระดมสรรพก�าลังทุกภาคส่วน เพื่อตอบโต้เหตุฉุกเฉิน/
                                           บรรเทาภัย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                                           (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) เข้าควบคุมสถานการณ์
                                           มีอ�านาจสั่งการและบังคับบัญชา โดยให้ผู้อ�านวยการกลาง

                                           (อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ควบคุมและก�ากับ
                                           การปฏิบัติหน้าที่ตามการสั่งการของผู้บัญชาการป้องกันและ
                                           บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

               4    สาธารณภัยขนาดร้ายแรง เกิดผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่ง ระดับวิกฤตการณ์ มีผลกระทบ
                    อย่างยิ่ง              ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นอยู่และขวัญก�าลังใจของประชาชน
                                           จ�านวนมากอย่างร้ายแรง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี
                                           ที่ได้รับมอบหมายเข้าควบคุมสถานการณ์/บัญชาการเหตุการณ์
                                           ทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร


                       ตารางที่ 1 การแบ่งระดับความรุนแรงและการจัดการสาธารณภัยในระดับต่าง ๆ


            1.2  แนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินตามแผนการป้องกัน
                   และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ


                   แนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
            แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ได้ก�าหนดแนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน
            โดยก�าหนดให้ “ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน และภาคเอกชน ใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident
            Command System) เป็นระบบมาตรฐานของประเทศไทยในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน” และยังได้น�า
            แนวความคิดในการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่เป็นสากลมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย และ
            ก�าหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน ดังนี้


                   1.2.1  กลไกการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
                          1)  กองอ�านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งพื้นที่  (องค์การบริหาร
            ส่วนต�าบล/ เทศบาล/ เมืองพัทยา) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่นเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น โดยมี
            ผู้อ�านวยการท้องถิ่น เป็นผู้ควบคุมและสั่งการเพื่อท�าหน้าที่จัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์

            จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมทั้งประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
            และประสานความร่วมมือ กับทุกภาคส่วนในการจัดการสาธารณภัยทุกขั้นตอน หากในกรณีไม่สามารถ
            ควบคุมสถานการณ์สาธารณภัยตามขีดความสามารถโดยล�าพัง ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองอ�านวยการ


                                                      คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์  3
                                                      Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16