Page 90 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 90
ตัวช่วยการปฏิบัติงาน 6 - การตรวจสอบข่าวลือ
ขั้นตอน การปฏิบัติ P
1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมข่าวลือได้รับข่าวลือจากเจ้าหน้าที่ในต�าแหน่งอื่น ๆ £
(เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมวลชนสัมพันธ์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนสัมพันธ์)
หมายเหตุ: ข่าวลือสามารถได้รับแจ้งจากหลายช่องทาง เช่น จากเจ้าหน้าที่ภาคสนาม
ที่ปฏิบัติงานร่วมกับสาธารณะ จากเจ้าหน้าที่ JIC คนอื่น ๆ ที่ท�างานกับสื่อมวลชน
และช่องทางอื่น ๆ การแจ้งข่าวลือให้ JIC อาจเป็นการแจ้งทางโทรศัพท์ การแจ้งแบบ
ต่อหน้าการส่งข้อความ หรือวิธีการอื่น ๆ
2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมข่าวลือบันทึกรายละเอียดของข่าวลือที่ได้รับแจ้ง £
ลงในแบบบันทึกข้อซักถาม (JIC Query)
3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมข่าวลือสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่จากหน่วยเผชิญเหตุ £
ที่รับผิดชอบในประเด็นนั้น ๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข่าวลือที่ได้รับ
4 ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมข่าวลือบันทึกการตรวจสอบข้อเท็จจริงในบันทึก £
แบบสอบถามข่าวลือ (Rumor Query Record)
5 ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมข่าวลือจัดท�าส�าเนาบันทึกแบบสอบถามข่าวลือ £
ที่กรอกข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้วให้กับเจ้าหน้าที่ JIC ต่อไปนี้:
£ APIO ด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร
(ส�าหรับการเผยแพร่ภายในและการวิเคราะห์สื่อ ถ้าจ�าเป็น)
£ APIO ด้านการผลิตข้อมูลข่าวสาร (เพื่อแก้ไขข้อมูลที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้
หรือแก้ไขร่างข่าวแจกที่ก�าลังผลิตอยู่ และส�าหรับการบันทึกข้อมูลใน JIC)
£ APIO ด้านสื่อมวลชนสัมพันธ์ (เพื่อเผยแพร่ออกสู่สื่อมวลชน)
£ APIO ด้านชุมชนสัมพันธ์ (เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ)
82 คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System