Page 110 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 110
ตัวเมืองโบราณอู่ทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของล ้าน ้าจระเข้สามพันซึ่งไหลมาจากทิศใต้
ก่อนไหลออกไปทางตะวันออกซึ่งเป็นที่ราบลุ่มต ่า ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกราว 1
กิโลเมตรเป็นแนวทิวเขายาวจากทิศเหนือจรดใต้ ประกอบด้วยเขาทุ่งดินด า เขาพุทอง
เขาตาเก้า เขาพระ เขารางกะเปิด และเขาคอก แนวทิวเขานี้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและ
เป็นต้นก าเนิดของล าน ้าหลายสายที่ไหลมาสู่คูเมือง เช่น ล าห้วยรวก และห้วยหางนาค ก่อนที่น ้า
จากคูเมืองจะไหลไปยังแม่น ้าจระเข้สามพันซึ่งเป็นแม่น ้าสายหลักของเมืองเพื่อไหลต่อออกไป
ทางตะวันออก
การที่เมืองอู่ทองตั้งอยู่ระหว่างแนวทิวเขาทางตะวันตกกับที่ราบลุ่มต ่าทางตะวันออก
คงท าให้ชุมชนนี้สามารถหาทรัพยากรธรรมชาติจากป่าเขาและท าการเกษตรกรรมไปได้
พร้อมๆ กัน อีกทั้งยังสามารถติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอกผ่านการคมนาคมตามเส้นทางน ้า
(คือแม่น ้าจระเข้สามพัน) ได้สะดวก ปัจจัยด้านที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออ านวยนี้คงส่งผล
ให้ชุมชนแถบนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองส าคัญในสมัยทวารวดี
จากการขุดแต่งโบราณสถานของกรมศิลปากรท าให้ได้พบโบราณสถานเกือบ 20 แห่ง
อาคารประเภทพุทธสถานนั้นตั้งอยู่ภายในเขตเมืองและบริเวณรอบๆ เมือง เจดีย์ที่มีขนาดใหญ่
ที่สุดคือ เจดีย์หมายเลข 1 (วัดปราสาทร้าง) ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ส่วน
โบราณสถานแห่งอื่นๆ นั้นมีขนาดไม่ใหญ่นัก อาคารแต่ละหลังอยู่ในสภาพปรักหักพังจึงศึกษา
ได้เฉพาะในส่วนของแผนผัง ซึ่งมีทั้งเจดีย์ในผังกลม (หมายเลข 10) ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส (หมายเลข
11) ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จ (หมายเลข 2, 3, 9) เจดีย์ผังแปดเหลี่ยมยกเก็จ (หมายเลข 13)
วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (หมายเลข 5, 16) และมณฑปในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส (หมายเลข 21)
6
(ภาพที่ 61 - 63)
ภาพที่ 61 เจดีย์หมายเลข 3 เมืองอู่ทอง
104