Page 115 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 115
แผนผังของเมืองคูบัวมีลักษณะแตกต่างจากเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีแห่งอื่นๆ ด้วยมี
ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน วางตัวเฉียงจากทิศเหนือไป ทางตะวันตกเล็กน้อย มีขนาดความ
กว้างจากทิศตะวันออก-ตะวันตก ราว 800 เมตร มีความยาวจากทิศเหนือ-ใต้ ประมาณ 2,000
เมตร เมืองคูบัวมีคูน ้า 1 ชั้นอยู่ตรงกลางคันดินที่มีสองชั้น โดยคูน ้านี้จะได้รับน ้าหล่อเลี้ยงจากล า
ห้วยคูหัวและห้วยชินสีห์ คูเมืองด้านเหนือติดกับล าห้วยคูบัวที่ไหลมาจากทางตะวันตก ก่อนไหล
ไปลงสู่แม่น ้าอ้อม ส่วนคูเมืองด้านตะวันตกมีล าห้วยชินสีห์ซึ่งไหลผ่านเข้าไปยังตัวเมืองและคู
เมืองด้านตะวันออกก่อนจะไหลไปลงสู่แม่น ้าอ้อมเช่นกัน
การขุดแต่งโบราณสถานที่เมืองคูบัวน ามาซึ่งองค์ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมทางพุทธ
ศาสนาในสมัยทวารวดีอย่างมาก จากการด าเนินงานใน พ.ศ. 2504 น าโดยนายสมศักดิ์ รัตนกุล
ได้พบโบราณสถานถึง 44 แห่ง และได้ขุดแต่งไป 23 แห่ง ต่อมากรมศิลปากรได้ท าการส ารวจ
16
และขุดแต่งบูรณะบางแห่งเพิ่มเติม จนถึงปัจจุบันพบโบราณสถานมากถึง 67 แห่ง (ภาพที่ 69)
17
ภาพที่ 69 แผนผังแสดงต าแหน่งโบราณสถานที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี
(ที่มา: สมศักดิ์ รัตนกุล, โบราณคดีเมืองคูบัว, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2535.
พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพว่าที่ ร.ต.สมศักดิ์ รัตนกุล 27 เมษายน 2527), 76.)
109