Page 120 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 120

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงแบบศิลปะของประติมากรรมจากเจดีย์หมายเลข

                       40 ไว้ว่า

                                     “เศียรของเทวดาที่ขุดพบในสถูปหมายเลข 40 อันถ่ายทอดให้เห็นถึงความมี
                              ชีวิตจิตใจและความสามารถของการปั้นดังกล่าวแล้ว จึงท าให้เราคิดว่าเป็นของสร้าง
                              ขึ้นโดยศิลปินชาวอินเดีย ความประทับใจครั้งแรกซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราดูประติมากรรม

                              ดินเผาเหล่านี้ก็คือ ความเหมือนกันอย่างยิ่งกับภาพเขียนรูปพระโพธิสัตว์ในถ ้าอชันตา
                              เป็นความจริงที่ว่า เส้นทรงของพระเนตรอันยาวรี นาสิกอันงุ้มเล็กน้อย โอษฐ์
                              อันอิ่มเต็ม พระพักตร์อันกว้าง และประสิทธิภาพอันสั่นไหวของน ้าหนักอ่อนแก่
                              ซึ่งเกิดจากเครื่องทรงพระเศียรของเทวดาเหล่านั้นมีลักษณะเป็นเช่นเดียวกับ

                              ภาพเขียนพระโพธิสัตว์ที่ถ ้าอชันตาทั้งสิ้น”
                                                                25

                              ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ยังสันนิษฐานด้วยว่ามีความเป็นไปได้ที่เจดีย์หมายเลข 40

                                                              26
                       จะสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนานิกายมหายาน  เพราะประติมากรรมบางชิ้นมีลักษณะคล้ายกับ
                       ภาพเขียนที่ถ ้าอชันตาซึ่งเป็นถ ้าทางพุทธศาสนามหายานของอินเดีย นอกจากนี้ยังได้พบ
                       ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อย่างน้อย 2 องค์ที่เจดีย์หมายเลข 40 ด้วย คือ พระอวโลกิเตศวร
                                      27
                       และพระวัชรปาณี

                              4.2.3)  โบราณสถานที่เมืองนครปฐม อ าเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

                              เมืองนครปฐมเป็นเมืองโบราณที่มีคูน ้าล้อมรอบซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศในช่วง

                       ก่อนหน้าสมัยอยุธยา มีพื้นที่ราว 3,809 ไร่ ลักษณะผังเมืองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้าง
                       2 กิโลเมตร ยาว 3.6 กิโลเมตร  คาดว่าเดิมคูเมืองคงมีความกว้าง 50 - 60 เมตร แต่ในปัจจุบัน
                                                 28
                       คูเมืองได้ตื้นเขินเหลือความกว้างเพียง 10 - 20 เมตร ศูนย์กลางของเมืองมีศาสนสถานส าคัญ
                       ตั้งอยู่คือ พระประโทณเจดีย์ เกือบกึ่งกลางเมืองยังมีคลองชื่อว่า “คลองพระประโทน” ที่มนุษย์ใน

                       อดีตขุดขึ้นเป็นแนวตรงเพื่อเชื่อมคูเมืองด้านทิศเหนือกับทิศใต้ของเมืองเข้าด้วยกัน  ส่วนคูเมือง
                                                                                              29
                       นครปฐมได้รับน ้ามาจากล าน ้าส าคัญ 2 สาย คือ ล าน ้าบางแก้ว และล าน ้าบางแขม (ภาพที่ 75)

                              ลักษณะเด่นของเมืองนครปฐมโบราณคือไม่มีคันดิน ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์ให้กับ
                       การเดินเรือเข้ามาในเขตเมือง เพราะนอกจากคูเมืองและแม่น ้าบางแก้วจะเป็นแหล่งน ้าใช้

                       อุปโภคบริโภคอย่างดีแล้ว ล าน ้าเหล่านี้ต้องเป็นเส้นทางคมนาคมหลักอีกด้วย สมเด็จฯ กรมพระ
                       ยาด ารงราชานุภาพทรงเล่าว่า เคยขุดพบสมอเรือและสายโซ่ของเรือเดินทะเลที่วัดธรรมศาลา

                       ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น ้าบางแก้วภายนอกเมืองนครปฐมโบราณทางด้านทิศตะวันออก  ดังนั้น
                                                                                                  30
                       เรือส าเภาจากชุมชนภายนอกคงจะสามารถเดินทางเข้ามาติดต่อภายในเขตตัวเมืองได้
                                                                                                 31








                                                               114
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125