Page 122 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 122
ในอดีตบริเวณเมืองนครปฐมเคยมีศาสนสถานโดยเฉพาะเจดีย์อยู่เป็นจ านวนมาก
ดังค ากล่าวของสมเด็จฯ กรมพระด ารงราชานุภาพที่ว่า
“มีเรื่องที่ข้าพเจ้ายังไม่หายเสียดายอยู่เรื่องหนึ่ง คือเมื่อเริ่มสร้างรถไฟ
สายใต้ ใน พ.ศ. 2443 เวลานั้นท้องที่รอบพระปฐมเจดีย์ยังเป็นป่าเปลี่ยวอยู่
โดยมาก ในป่าเหล่านั้นมีซากพระเจดีย์โบราณขนาดใหญ่ๆ ซึ่งสร้างทันสมัย
พระปฐมเจดีย์อยู่หลายองค์ พวกรับเหมาท าทางรถไฟไปรื้อเอาอิฐพระเจดีย์เก่า
มาถมเป็นอับเฉากลางรางรถไฟ ได้อิฐพอถมตั้งแต่สถานีบางกอกน้อยไปตลอด
ระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร ขอให้คิดดูก็จะได้เห็นว่ารื้อ พระเจดีย์ที่เป็นของควร
สงวนเสียสักกี่องค์”
33
น่าเสียดายที่ในปัจจุบันมีโบราณสถานเพียง 6 แห่งเท่านั้นที่ยังหลงเหลือสภาพพอให้
เราศึกษาได้ (ไม่นับองค์พระปฐมเจดีย์ (องค์เดิม)) ได้แก่ วัดพระเมรุ เจดีย์จุลประโทน พระประ
โทณเจดีย์ วัดธรรมศาลา วัดพระงาม (ยังไม่ได้ขุดศึกษา) และเนินพระที่ต าบลดอนยายหอม
34
ทั้งนี้โบราณสถานแต่ละแห่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังมีร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์หลาย
ระยะ อันแสดงให้เห็นถึงความส าคัญเป็นพิเศษหรือการท านุบ ารุงศาสนสถานของชาวทวารวดี
ได้เป็นอย่างดี
- เจดีย์จุลประโทน
ภายหลังจากการขุดแต่งโดยศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
ก็ได้มีการขุดแต่งเจดีย์จุลประโทนอีกครั้งใน พ.ศ. 2510 - 2511 โดยนายสมศักดิ์ รัตนกุล และ
ได้รับความช่วยเหลือจากศาสตราจารย์ช็อง บวสเซอลิเย่ร์ นอกจากจะขุดแต่งองค์เจดีย์เพิ่มเติม
แล้ว ยังมีการวิเคราะห์ภาพเล่าเรื่องที่ประดับฐานเจดีย์ซึ่งไม่ได้ค้นพบในการขุดแต่งครั้งก่อนด้วย
ศาสตราจารย์ ช็อง บวสเซอลิเย่ร์ กล่าวว่า ภาพเล่าเรื่องส่วนใหญ่คงเป็นภาพชาดกใน
35
ลัทธิเถรวาท แต่ก็มีรูปพระโพธิสัตว์อยู่ด้วย ท่านเข้าใจว่าพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏนี้น่าจะ
36
เป็นอิทธิพลจากภาคใต้ที่แพร่หลายขึ้นมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ท่านน าเสนอผลการ
37
ก าหนดอายุเจดีย์จุลประโทนอย่างคร่าวๆว่ามีการก่อสร้างอย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่
การก่อสร้างครั้งที่ 1
มีการสร้างเจดีย์พร้อมกับลานทักษิณ มีบันไดขึ้นลง 4 ด้าน มีลวดลายเครื่องประดับท า
ด้วยดินเผา มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ระยะนี้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเถรวาท
การก่อสร้างครั้งที่ 2
มีการปรับเปลี่ยนท าให้ลานทักษิณหายไป และเพิ่มลวดลายเครื่องประดับปูนปั้น
ก าหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 และแสดงให้เห็นอิทธิพลของพุทธศาสนามหายาน
จากศิลปะศรีวิชัย
116