Page 124 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 124
ในปี พ.ศ. 2520 ดร.นันทนา ชุติวงศ์ เสนอความเห็นว่า แผ่นภาพดินเผาควรสร้างขึ้น
ก่อนภาพปูนปั้น แต่ก็มีอายุไม่ห่างกันมากนัก โดยมีอายุอยู่ระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ถึง
41
กลางพุทธศตวรรษที่ 14 ภาพบางภาพอาจตีความได้ต่างออกไปโดยมีที่มาจากทั้งคัมภีร์ภาษา
สันสกฤตและบาลี เพราะเรื่องเล่าต่างๆ นั้นมีอยู่แล้วในอินเดียโบราณก่อนที่พุทธศาสนาจะแยก
42
ออกเป็นหลายนิกาย และพุทธศาสนาเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลีก็ได้กลายเป็นความเชื่อพื้นฐาน
43
ของพุทธศาสนิกชนชาวทวารวดีไปแล้ว
ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ในการขุดแต่งเจดีย์จุลประโทนครั้งหลังนี้ได้พบโบราณวัตถุ
ชิ้นส าคัญมากหนึ่งชิ้น นั่นคือ ก้อนอิฐมีลวดลายขูดขีดเป็นภาพคนต่างชาติสวมหมวกกูปีเยาะห์
44
แบบชาวมุสลิม (ภาพที่ 77) ดังนั้นพ่อค้าต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังดินแดนทวารวดีส่วนหนึ่ง
คงเป็นชาวมุสลิมซึ่งอาจมาจากตะวันออกกลางหรือเอเชียกลางหรือประเทศจีนก็ได้
45
ภาพที่ 77 แผ่นอิฐสลักภาพชาวมุสลิม พบจากการขุดแต่งเจดีย์จุลประโทน เมืองนครปฐม
(ที่มา: นางสาววิภาดา อ่อนวิมล)
- พระประโทณเจดีย์
พระประโทณเจดีย์เป็นศาสนสถานกลางเมืองนครปฐมโบราณ เดิมมีลักษณะเป็น
เนินดินที่ด้านบนมีพระปรางค์สร้างซ้อนทับอยู่ จึงไม่ทราบว่าภายใต้เนินดินนั้นมีเจดีย์องค์เดิมอยู่
หรือไม่ จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ท าการขุดแต่งบูรณะระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2550 จึงได้ทราบ
ลักษณะของพระเจดีย์องค์เดิม
46
118