Page 121 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 121
ภาพที่ 75 แผนที่บริเวณเมืองนครปฐมโบราณและต าแหน่งของโบราณสถาน
เมืองนครปฐมโบราณมีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก ทางด้านทิศตะวันตกห่างออกไป
ราว 2 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของพระปฐมเจดีย์ซึ่งน่าจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนภายนอกเมือง
ทางทิศใต้มีแนวคลองและคันดินที่เรียกกันว่า “ถนนขาด” ซึ่งน่าจะเชื่อมต่อไปยัง “บ้านดอน
ยายหอม” ที่ตั้งอยู่ห่างออกมาราว 10 กิโลเมตร นายตรี อมาตยกุล เคยกล่าวถึงผลการส ารวจ
ตามล าน ้าเก่าที่ด าเนินงานร่วมกับหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 ว่า เมืองนครปฐมมี
คลองพระประโทน คลองบางแก้ว คลองพระยากง คลองถนนขาด คลองเหล่านี้น่าจะมีมาแล้ว
ตั้งแต่สมัยทวารวดี คลองบางแก้วนั้นสามารถใช้เดินทางไปออกทะเลทางทิศตะวันออกได้
ส่วนคลองถนนขาดอาจมีไว้ใช้ในการเดินเรือระหว่างเมืองนครปฐมและต าบลดอนยายหอม
เพราะดอนยายหอมนี้แต่เดิมน่าจะตั้งอยู่ตรงปากอ่าวหรือริมทะเล นอกจากนี้ยังมีแนวคันดินหรือ
ถนนขาดเลียบขนานไปกับล าคลองถนนขาด และคาดว่าแนวคันดินนี้เป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่าง
เมืองนครปฐมกับชุมชนแถบต าบลดอนยายหอมที่อยู่ปากอ่าวอีกด้วย
32
ควรกล่าวไว้ด้วยว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครปฐมเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขาที่
จะเป็นแหล่งหินหรือแหล่งแร่ธาตุใดๆ แต่เพราะตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น ้าท่าจีนนี้เองท าให้
พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การท าเกษตรกรรม ทั้งยังใช้ล าน ้าเป็นเส้นทางในการคมนาคม
ติดต่อกับชุมชนอื่นๆ แต่ในปัจจุบันเมืองนครปฐมโบราณถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไปมาก ล าน ้า
บางแก้วและคูเมืองตื้นเขิน ศาสนสถานต่างๆ ก็ถูกท าลายไปเป็นจ านวนมาก ทั้งจากการสร้าง
ทางรถไฟสายใต้ในสมัยรัชกาลที่ 5 และการสร้างถนนเพชรเกษมซึ่งตัดผ่านกลางเมืองโบราณ
115