Page 117 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 117
นายสมศักดิ์ รัตนกุล ได้จัดแบ่งสถาปัตยกรรมของพุทธสถานที่เมืองคูบัวไว้ 8 รูปแบบ
19
โดยพิจารณาจากรูปแบบของแผนผังและส่วนฐาน ดังนี้
1) ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐขึ้นไปตรงๆ ไม่มีการยกเก็จหรือย่อมุม เช่น หมายเลข 2, 9,
12, 15, 39, 41, 42
2) ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จหรือย่อมุม 3 มุมในแต่ละด้าน เช่น หมายเลข 1, 8, 13, 40, 44
3) ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีฐานเขียงลดหลั่น ขึ้นไปเป็นชั้นๆ มีซุ้มรอบเจดีย์ เช่น หมายเลข
11, 24, 35
4) ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีบันไดยื่นออกมาทั้ง 4 ด้านหรือด้านเดียว เช่น หมายเลข 10, 21,
22, 28, 29, 34
5) ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นออกมาจากมุมทั้งสี่ พบเพียง 1 แห่งคือหมายเลข 62
6) ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น หมายเลข 18, 25, 54
7) ผังกลม เช่น หมายเลข 45, 61, 66
8) ผังแปดเหลี่ยม เช่น หมายเลข 20, 60
โบราณสถานวัดโขลงสุวรรณคีรี (หมายเลข 18) เป็นพุทธสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ
เมืองคูบัวและตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง มีลักษณะผังอาคารหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความ
ยาว 43.50 เมตร กว้าง 22.20 เมตร มีมุขประดับทางด้านเหนือ ใต้ และตะวันตก ส่วนด้าน
ตะวันออกเป็นชานที่ยื่นออกมายาว 20 เมตร ซึ่งคงเป็นบันไดขึ้นไปสู่ตอนบนของอาคาร
ส่วนฐานของโบราณสถานวัดโขลงก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในเมืองคูบัว เพราะ
อาคารอื่นๆ ล้วนก่อด้วยอิฐ ส่วนผนังของอาคารที่มีมุขยื่นออกมานั้นประดับด้วยจระน าซุ้ม
(ภาพที่ 71)
ภาพที่ 71 โบราณสถานวัดโขลงสุวรรณคีรี อ าเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
111