Page 123 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 123
การก่อสร้างครั้งที่ 3
ระยะนี้คงกลับไปนับถือพุทธศาสนาเถรวาท จึงมีการก่อฐานขึ้นใหม่ ซึ่งปิดทับภาพปูน
ปั้นของเดิมเอาไว้ พร้อมกันนั้นก็มีการวางอิฐฤกษ์ จากลักษณะลวดลายที่แกะสลักบนอิฐฤกษ์
ท าให้สามารถก าหนดได้ว่าน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงต้นหรือกลางพุทธศตวรรษที่ 15
ต่อมา ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้น าเสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง “The Chula
38
Pathon Cedi: Architecture and Sculpture of Dvaravati” เมื่อปี พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านั้น
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ทรงแปลเนื้อหาบางส่วนและตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ
“พุทธศาสนนิทานที่เจดีย์จุลปะโทน” ดร.พิริยะเสนอว่า ภาพเล่าเรื่องทั้งหมดควรจะท าขึ้นพร้อม
39
กับการสร้างเจดีย์จุลประโทนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 - 11 แต่เนื้อหาของภาพส่วนใหญ่มีที่มา
จากคัมภีร์ภาษาสันสกฤต โดยเฉพาะคัมภีร์อวทานของพุทธศาสนานิกายสรรวาสติวาท ซึ่งเป็น
สาขาหนึ่งของลัทธิเถรวาทหรือหีนยาน แต่เป็นนิกายที่ใช้ภาษาสันสกฤต (ภาพที่ 76)
ภาพที่ 76 ภาพดินเผาและปูนปั้นประดับฐานเจดีย์จุลประโทน จ.นครปฐม
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัย หากแต่เป็นอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย
สมัยคุปตะ อิฐที่มีลวดลายสลักก็มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ตรงกับการก่อสร้างระยะที่ 2
ส่วนการก่อสร้างระยะที่ 3 คงเกิดขึ้นในต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งทั้งระยะที่ 2 และ 3 นี้
40
เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี
117