Page 105 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 105

บทที่ 4
                                                   สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี


                              ต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึงหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่างๆ ซึ่งพบจากการส ารวจ

                       และขุดค้นตามแหล่งชุมชนหรือเมืองโบราณร่วมสมัยทวารวดี ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ต่อ
                       การแปลความเกี่ยวกับคติความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือวิถีชีวิตของประชากรใน

                       สมัยทวารวดีได้อย่างดี
                              หลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีที่ส าคัญประเภทหนึ่งคือ สถาปัตยกรรม ซึ่งแบ่ง

                       ออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
                              1. ศาสนสถานกลางแจ้ง ได้แก่ เจดีย์ วิหารหรือโบสถ์ มณฑป และเทวาลัย

                              2. ถ ้าศาสนสถาน
                              3. สิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภค


                       4.1  วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง

                              วัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสมัยทวารวดีคือ อิฐ มักมีขนาดใหญ่โดยมีความยาว
                                                                            2
                                             1
                       เป็น 2 เท่าของความกว้าง  โดยทั่วไปแล้วก็มักผสมแกลบข้าว  การเผาท าได้ไม่ดีนัก ผิวชั้นนอก
                       เท่านั้นที่สุกเป็นสีแดงหรือเหลืองปนแดง แต่เนื้อในยังเป็นสีด าและเป็นถ่านอยู่ การเรียงอิฐใช้
                       ดินสอซึ่งเป็นดินเหนียวผสมน ้าอ้อย ชั้นของสอดินนี้บางมาก การเรียงอิฐท าอย่างเป็นระเบียบ

                       เฉพาะด้านนอก ภายในกลับท าอย่างง่ายๆ คือใช้อิฐที่เผาไม่ดี หรือน าอิฐจากที่อื่นมาใช้และวาง

                       ไม่เป็นระเบียบ จากคุณภาพของอิฐและเทคนิคในการก่อสร้างดังกล่าวมา ท าให้ศาสนสถานอยู่
                       ในสภาพทรุดโทรมปรักหักพังเหลือเพียงส่วนฐาน
                              นอกจากอิฐที่ใช้เป็นหลักแล้วก็ยังมีวัสดุอื่นๆ คือ ศิลาแลง ซึ่งมักใช้ก่อเป็นส่วนฐาน

                       อาคาร หรือบางครั้งใช้ท าเป็นส่วนยอดของเจดีย์ เช่นที่เมืองศรีมโหสถซึ่งจะใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุ

                       หลักในการก่อสร้าง ส าหรับการประดับตกแต่งอาคารศาสนสถานนิยมใช้ดินเผาและปูนปั้น
                       เพราะเมื่อใช้อิฐและศิลาแลงในการก่อสร้างซึ่งสลักได้ยาก จึงตกแต่งศาสนสถานด้วย
                       ประติมากรรมดินเผาหรือปูนปั้น ภาพที่พบมากคือ ชาดกเล่าเรื่องในพุทธศาสนา (ภาพที่ 54)

                       และรูปคณะ (หรือคนแคระ) ที่ประดับภายในช่องสี่เหลี่ยมตรงส่วนฐาน (ภาพที่ 55)

















                                                               99
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110