Page 163 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 163

ส าหรับสระมรกตนั้นเป็นสระน ้าที่มนุษย์ขุดขึ้น อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 115 x
                       214 เมตร ลึก 3.5 เมตร ล้อมรอบด้วยคันดินกว้าง 4 – 5 เมตร ภายในสระมีแท่งศิลาแลงกระจัด
                       กระจายทั่วไปซึ่งอาจเกิดจากการตัดศิลาแลงไปใช้ประโยชน์ ส่วนสระบัวล้ามีขนาดเล็กกว่า

                       สระมรกต คือ 100x150 เมตร ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจขุดขึ้นก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ปรากฏ

                       อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร สระน ้าทั้ง 2 แห่งนี้ถือเป็นแหล่งน ้าอุปโภคบริโภคของชุมชนรอบๆ
                       โบราณสถานสระมรกต ซึ่งมีการอยู่อาศัยทั้งในช่วงสมัยทวารวดีและช่วงที่ได้รับอิทธิพล
                                    107
                       วัฒนธรรมเขมร  (ภาพที่ 126)






























                                               ภาพที่ 126 ผังบริเวณโบราณสถานสระมรกต
                              (ที่มา: พีรพน พิสณุพงศ์ และสุรศักดิ์ อนันตเวทยานนท์, “ลักษณะโบราณสถานสระมรกต,”

                                           ใน รายงานการขุดค้นและขุดแต่งโบราณสถานสระมรกต
                                                  (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534), 14.)


                              -  บ่อน ้าบ้านหัวซา
                              บ้านหัวซาตั้งอยู่นอกเมืองศรีมโหสถห่างออกมาทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร

                       มีบ่อน ้าโบราณ (ราษฎรในพื้นที่เรียกว่าสระหนองแวง) รูปวงกลม 3 บ่อที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลง
                       ธรรมชาติ บ่อน ้า 2 บ่อมีขนาดเล็กโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 3.4 เมตร และมีบันไดทาง

                       ลงด้านหนึ่ง (ภาพที่ 127) อีกบ่อ (หรือสระ) หนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
                       16.5 เมตร โดยมีตระพักหรือขอบบ่อ 1 ชั้นก่อนจะลงไปที่บ่อน ้า ทั้งยังมีทางระบายน ้าที่ขุดขึ้น

                       เพื่อเชื่อมต่อบ่อน ้าทั้ง 3 บ่อด้วย (ภาพที่ 128) แม้จะไม่มีร่องรอยใดๆ ที่จะช่วยในการก าหนด
                       อายุ แต่ก็น่าจะขุดขึ้นในสมัยทวารวดีด้วย เพราะที่เมืองศรีมโหสถนั้นมีบ่อน ้าเป็นจ านวนมาก





                                                               157
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168