Page 161 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 161
น่าสังเกตว่าตามพุทธสถานสมัยอมราวดีหลายแห่งบนภูเขาในเขตรัฐอานธร
ประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียก็นิยมขุดบ่อน ้ารูปสี่เหลี่ยมลงไปในชั้นหิน
ธรรมชาติ (หินภูเขา) และบางที่มีบันไดขึ้นลงในลักษณะคล้ายกับสระแก้วที่เมือง
ศรีมโหสถ แต่ที่อินเดียนั้นไม่มีการแกะสลักขอบสระ (ภาพที่ 123)
ภาพที่ 123 บ่อน ้าที่พุทธสถาน Thotlakonda รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย
จากการที่สระแก้วมีภาพสลักเช่นนี้จึงสันนิษฐานว่าเป็นสระน ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการ
ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือเป็นสระน ้าของชนชั้นสูงที่เมืองศรีมโหสถ ในขณะที่สระน ้าแห่ง
อื่นๆ ภายในเมือง เช่น สระมะกรูด สระมะเขือ สระทองแดง สระขวัญ สระกระท้อน กลับไม่มี
ภาพสลักใดๆ สระน ้าเหล่านี้จึงน่าจะใช้ในการอุปโภคบริโภคของชาวเมืองทั่วไปมากกว่า
103
- โบราณสถานสระมรกต
สระมรกตตั้งอยู่นอกเมืองศรีมโหสถ ห่างจากเมืองโบราณมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณ 3 กิโลเมตร แต่เดิมบริเวณนี้เป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีสระน ้า 2 สระ คือ สระมรกตทาง
ทิศตะวันออก และสระบัวล้าทางทิศเหนือ และมีเนินโบราณสถานขนาดเล็กอีกหนึ่งแห่งทางทิศ
ตะวันออกของสระมรกตเรียกว่า เนินพระเจดีย์
จากการขุดศึกษาในช่วง พ.ศ. 2514 – 2521 พบว่าเนินโบราณสถานสระมรกต
(โบราณสถานหมายเลข 1) เป็นกลุ่มอาคารที่สร้างขึ้นด้วยศิลาแลง มีปราสาทประธาน,
บรรณาลัย, โคปุระ และก าแพงแก้ว ซึ่งเป็นแผนผังของศาสนสถานประจ าโรงพยาบาล
(อโรคยศาล) สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 และยังได้ขุดพบจารึก
104
เนินสระบัว พระพุทธรูปหินทรายศิลปะทวารวดี ศิวลึงค์ รวมถึงพระกรและพระเศียรของ
105
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ภาพที่ 124)
155