Page 156 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 156
เมื่อ พ.ศ. 2540 นายสายันต์ ไพรชาญจิตร์ และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล ได้ท าการ
ขุดแต่งโบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข 7 ซึ่งตั้งอยู่บนแนวคันดินด้านทิศตะวันตกของ
คอกช้างดินหมายเลข 3 ที่เป็นอ่างเก็บน ้า โบราณสถานหลังนี้มีฐานชั้นล่างที่ก่อด้วยหินปูน
ธรรมชาติขนาดต่างๆ และศิลาแลง อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 24 เมตร ยาว 28.80 เมตร
บนฐานนี้มีอาคารขนาดเล็กอีก 3 หลัง ก่อด้วยหินธรรมชาติและศิลาแลงเช่นเดียวกัน โดยได้
ขุดค้นพบภาชนะดินเผาทรงแจกันหรือคนโทขนาดเล็กที่ภายในบรรจุแท่งเงินและก้อนเงินตัด
เป็นท่อน เหรียญเงินตราสังข์/ศรีวัตสะ เหรียญเงินตราพระอาทิตย์/ศรีวัตสะ เหรียญเงินตราสังข์/
หม้อปูรณฆฏะ และเหรียญเงินมีจารึก “ศรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” จ านวน 3 เหรียญ ซึ่งค้นพบเป็น
93
ครั้งแรกจากการขุดค้นทางโบราณคดี
หลักฐานดังกล่าวนี้คงมีความเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมของกษัตริย์ ทั้งยังอาจ
สัมพันธ์กับข้อความในจารึกแผ่นทองแดงเมืองอู่ทองที่มีพระนามกษัตริย์ คือพระเจ้าหรรษวรมัน
ที่ได้ถวายสิ่งของและหมู่คนฟ้อนร าและขับร้องแด่พระศิวลึงค์ชื่อ “ศรีธาเรศวร” ที่แปลว่า “พระผู้
94
เป็นเจ้าแห่งสายน ้า” อีกด้วย
ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ในการขุดแต่งโบราณสถานคอกช้างดินหลังอื่นๆ ก็ได้พบ
โบราณวัตถุที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น การขุดพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซุ่งที่
คอกช้างดินหมายเลข 13 (คชด. 13) การขุดแต่งคอกช้างดินหมายเลข 12 เมื่อปี พ.ศ. 2546
95
(ภาพที่ 117) ก็ได้พบเหรียญทองแดงของอาหรับสมัยของเคาะลีฟะห์อัล-มะหะดี (Al-Mahdi)
แห่งราชวงศ์อับบาสิยะห์ (Abbasid dynasty) ที่ครองต าแหน่งในดินแดนตะวันออกกลางช่วง
96
พ.ศ. 1318 - 1328
ภาพที่ 117 โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข 12
(ที่มา: นางสาวสุภมาศ ดวงสกุล)
150