Page 155 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 155
ในการศึกษาของสุภมาศ ดวงสกุล ซึ่งน าตัวอย่างดินไปวิเคราะห์หาละอองเรณู และขุด
ตรวจแนวคันดินที่ล้อมรอบคอกช้างดินหมายเลข 1 และ 2 เพื่อศึกษาชั้นการก่อสร้าง
โบราณสถาน พบว่าลักษณะชั้นดินและละอองเรณูที่พบแสดงว่าเมื่อแรกสร้างคอกช้างดินเหล่านี้
มีสภาพเป็นสระที่มีน ้าแช่ขังเป็นระยะเวลานาน หลังจากนั้นน ้าได้ไหลบ่าน าตะกอนเข้ามาทับถม
ภายในคอก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สระน ้าถูกทิ้งร้างไปแล้ว สระน ้าเหล่านี้จึงตื้นเขินขึ้นหมดสภาพไป
90
ในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นชั้นดินบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับคอกช้างดิน โดยมี
หลุมขุดค้นขนาด 2x2 เมตร จ านวน 3 หลุม พบว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นของ
มนุษย์ในสมัยทวารวดี เพราะได้พบชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาเป็นจ านวนมาก ทั้งหม้อมี
91
สัน ตะคัน กุณฑี และยังได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย
บริเวณอ่างเก็บน ้าคอกช้างดินยังมีโบราณสถานหลายหลังก่อสร้างด้วยอิฐ หินและ
ศิลาแลง การขุดแต่งโบราณสถานเหล่านี้ด าเนินการครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2509 โดยนายสมศักดิ์
รัตนกุล ซึ่งได้พบชิ้นส่วนมุขลึงค์ท าจากศิลาสีเขียวที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข 5
(คชด. 5) แสดงว่าพื้นที่นี้มีเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ ส่วนการท างานในปี พ.ศ. 2540 –
92
2544 นั้นได้ท าการขุดแต่งคอกช้างดินหมายเลข 6, 7 และ 13 และได้ค้นพบข้อมูลที่มี
ความส าคัญอย่างแท้จริงต่อการศึกษาโบราณคดีสมัยทวารวดี โดยเฉพาะในการขุดแต่งคอกช้าง
ดินหมายเลข 7 (คชด. 7) (ภาพที่ 116)
ภาพที่ 116 โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข 7 (ถ่ายเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2556)
149