Page 159 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 159
- โบราณสถานสระแก้ว
สระแก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเมืองศรีมโหสถ ห่างจากคูเมืองด้าน
ทิศใต้เพียง 150 เมตร เป็นสระน ้าที่ขุดลึกลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ มีขนาดกว้าง 17.5 เมตร
ยาว 42.6 เมตร ลึก 5.4 เมตร มีบันไดทางขึ้นลงสระน ้าอยู่ทางตะวันตก ทางทิศเหนือมีบันได
หรือแท่นซึ่งน่าจะเป็นที่ตั้งของอาคารหรือพลับพลา (พบรอยหลุมเสาใกล้ๆ บันได) (ภาพที่ 120)
ภาพที่ 120 โบราณสถานสระแก้ว นอกเมืองศรีมโหสถ
ส่วนที่ขอบสระสลักภาพนูนต ่าเป็นภาพสัตว์มงคล เช่น ช้าง สิงห์ มกร หมูป่า และรูป
หม้อน ้า มีจ านวนรวม 41 ภาพ ภาพเหล่านี้อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 1.1 – 1.2 เมตร
ยาว 1.2 – 3.15 เมตร โดยมีกรอบเล็กบรรจุภาพสัตว์แต่ละตัวมีขนาด 20 – 30 เซนติเมตร
101
ลวดลายสลักนูนออกมาจากพื้นหลัง 6 – 7 เซนติเมตร (ภาพที่ 121 - 122)
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงสันนิษฐานว่า สระแก้วอาจขุดขึ้นในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 7 – 9 เพราะภาพสลักรูปมกรบางตัวมีลักษณะคล้ายกับมกรในศิลปะอมราวดีทาง
ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและมกรบางตัวในศิลปะคุปตะของอินเดียภาคเหนือ ขณะที่
ศาสตราจารย์ ช็อง บวสเซอลิเย่ร์ มีความเห็นว่าสระแก้วอาจสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11
ส่วนนายพีรพน พิสณุพงศ์ เสนอว่าภาพมกรส่วนใหญ่ดูคล้ายกับศิลปะอินเดียในราวพุทธ
ศตวรรษที่ 10 – 11 ส่วนภาพช้างและสิงห์นั้นดูคล้ายศิลปะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 สระแก้ว
จึงน่าจะขุดขึ้นในช่วงสมัยทวารวดี หรือไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 10 – 11
102
153