Page 153 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 153
86
4.3.6) ภูปอ จังหวัดกาฬสินธุ์
ภาพสลักพระพุทธรูปในอิริยาบถนอนศิลปะทวารวดีที่ภูปออยู่บริเวณเพิงหินเชิงเขา
มีพุทธลักษณะคล้ายกับภาพสลักที่ภูเวียง แต่ช่างได้สลักให้พระพุทธองค์ทรงประทับนอนอยู่
เหนือผ้าปูลาดรองพระองค์และมีผ้าหรือหมอนรองพระเศียร และมีการสลักประภามณฑลรูป
วงกลมล้อมรอบพระเศียรนั้นไว้ด้วย พระพุทธรูปนอนองค์นี้มีความยาว 3.30 เมตร และคงเป็น
87
งานที่สลักขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 (ภาพที่ 114)
ภาพที่ 114 ภาพสลักพระพุทธรูปนอนศิลปะทวารวดีที่ภูปอ จังหวัดกาฬสินธุ์
4.4 สิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภคสมัยทวารวดี
สิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภคนี้ท าขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการน ้า
88
แหล่งโบราณคดีที่ส าคัญที่สุดคือ โบราณสถานคอกช้างดินที่เมืองอู่ทอง นอกจากนี้ยังได้พบ
บ่อน ้าศักดิ์สิทธิ์คือสระแก้วที่อยู่นอกเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และบ่อน ้ารูปวงกลมซึ่งตัด
ลงไปในพื้นศิลาแลงธรรมชาติที่บ้านหัวซา อ าเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี บริเวณเดียวกัน
นี้ยังได้พบแนวคันดินโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าคงท าขึ้นเพื่อบังคับน ้าอีกด้วย
4.4.1) โบราณสถานคอกช้างดิน เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
บริเวณแหล่งโบราณคดีคอกช้างดินที่เชิงเขาคอก ห่างจากเมืองอู่ทองไปทางทิศตะวันตก
เฉียงใต้ 3 กิโลเมตร เป็นที่สนใจของนักวิชาการมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะประเด็นปัญหา
เรื่องหน้าที่ของแหล่งว่าจะเป็นเพนียดคล้องช้างหรือเป็นท านบกั้นน ้า แต่เพิ่งมีการส ารวจและ
ขุดศึกษาคอกช้างดินอย่างจริงจังในระหว่าง พ.ศ. 2540 – 2544 โดยส านักงานโบราณคดีและ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี
147