Page 149 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 149
4.3.3) กลุ่มถ ้าเขางู อ าเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
บริเวณเทือกเขางูซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองโบราณคูบัวราว 14 กิโลเมตร มีกลุ่มถ ้าทาง
พุทธศาสนาที่ส าคัญอยู่ 4 ถ ้า ได้แก่ ถ ้าฤาษี ถ ้าจีน ถ ้าจาม ถ ้าฝาโถ ทั้งหมดเป็นถ ้าธรรมชาติซึ่ง
มนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์ในลักษณะคล้ายกับถ ้าวิหารของอินเดีย มีการสลักผนังถ ้าและปั้นปูน
79
ประกอบเป็นภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา ซึ่งนักวิชาการบางท่านเสนอว่าอาจสลักตกแต่ง
80
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 และกลางพุทธศตวรรษที่ 13
ภายในถ ้าฤาษีมีภาพส าคัญคือ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทขนาดใหญ่แบบ
ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทแบบทวารวดีทั้งหมดนั้นแสดงวิตรรกมุทรา
เบื้องล่างระหว่างข้อพระบาทของพระพุทธรูปที่ถ ้าฤาษี มีจารึกภาษาสันสกฤตผสมมอญโบราณ
อักษรปัลลวะ ความว่า “ปุญ วฺระ ฤษิ – ศฺรี สมาธิคุปฺตะ” แปลว่า “การบุญของฤษี...ศรีสมาธิ
คุปตะ” ก าหนดอายุจากแบบอักษรได้ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 (ภาพที่ 110)
81
ภาพที่ 110 ภาพสลักพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลปะทวารวดี ที่ถ ้าฤาษีเขางู
ส าหรับถ ้าจีนมีภาพสลักที่ไม่ส าคัญเท่าใดนัก เพราะหลงเหลือเพียงร่องรอยของ
พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทและประทับนั่งในปางสมาธิ ซึ่งถูกดัดแปลงไปอย่างมากแล้ว
ในสมัยหลัง
143