Page 147 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 147
4.3.2) ถ ้าเขาถมอรัตน์ อ าเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
เขาถมอรัตน์ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองศรีเทพ ไปทางตะวันตกราว 17 กิโลเมตร บนยอดเขามี
ถ ้าธรรมชาติชื่อว่า ถ ้าเขาถมอรัตน์ ที่ผนังและเสาหินภายในถ ้ามีการแกะสลักภาพทาง
74
พุทธศาสนามหายาน ก าหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ภาพทั้งหมดเกิดจากการ
แกะสลักอย่างง่ายๆ และคงใช้ปูนปั้นพอกทับอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วย ภาพพระพุทธรูปประทับ
ยืน แสดงวิตรรกมุทรา 2 พระหัตถ์ (ภาพที่ 107) นอกจากนี้ก็มีภาพพระพุทธรูปประทับนั่งขนาบ
ข้างด้วยสถูปและธรรมจักร และภาพพระโพธิสัตว์ซึ่งคล้ายกับศิลปะเขมรสมัยก่อนเมือง
75
พระนคร (ภาพที่ 108)
ภาพที่ 107 ภาพสลักพระพุทธรูปที่ถ ้าเขาถมอรัตน์
การผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมือง
พระนครในแถบเมืองศรีเทพ คงเกิดจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของเมืองศรีเทพ ซึ่งตั้งอยู่
76
ระหว่างบริเวณที่ราบลุ่มแม่น ้าเจ้าพระยากับบริเวณที่ราบสูงโคราช ที่เมืองศรีเทพยังพบ
จารึกที่มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์เขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร รวมไปถึงการพบเทวรูปหลาย
องค์ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร โดยในช่วงราวพุทธศตวรรษที่
17-18 ก็มีการสร้างปราสาทเขมรขึ้นภายในเมืองศรีเทพด้วย คือ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์
ศรีเทพ
77
ควรกล่าวด้วยว่า เมื่อ พ.ศ. 2505 ได้มีกลุ่มคนร้ายลักลอบขึ้นไปสกัดเอาพระเศียรของ
พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ที่ถ ้าเขาถมอรัตน์ไปทั้งหมด ต่อมากรมศิลปากรได้ติดตามข่าวและ
ทราบว่าโบราณวัตถุดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของเอกชนรายหนึ่ง กรมศิลปากรจึงติดต่อ
141