Page 142 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 142

ภาพที่ 99 โบราณสถานวัดธรรมจักรเสมาราม เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา


                              ส าหรับองค์พระนอนนอนนั้นมีสภาพช ารุดแตกหักเกือบทั้งองค์ สลักจากหินทรายสีแดง
                       ขนาดใหญ่หลายก้อน และประกอบขึ้นตามแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยพระเศียรหันไปทางทิศใต้

                       ประทับนอนตะแคงขวา หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก โดยพระพักตร์ประกอบไปด้วย
                       หินทราย 4 แผ่นวางซ้อนกัน รูปพระพักตร์นั้นคงได้รับอิทธิพลของศิลปะทวารวดีที่ผสมผสานกับ

                       รูปแบบของศิลปะพื้นเมืองอยู่บ้าง สามารถวัดความยาวตลอดทั้งองค์พระได้ 13.30 เมตร
                              บริเวณนี้ยังได้พบธรรมจักรศิลาศิลปะทวารวดี ตอนล่างมีลายสลักคล้ายหน้ากาล

                       สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับพระนอน จากการขุดศึกษายังได้พบกลุ่ม
                       ประติมากรรมส าริด ได้แก่ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ

                       ประติมากรรมที่พบจากเขาคลังในที่เมืองศรีเทพ (ภาพที่ 100)


















                                ภาพที่ 100 ประติมากรรมส าริด พบที่โบราณสถานวัดธรรมจักรเสมาราม เมืองเสมา





                                                               136
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147