Page 140 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 140
- โบราณสถานหมายเลข 2
อยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข 1 ไปทางทิศตะวันตกราว 15 เมตร ลักษณะเป็น
กรอบศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบเนื้อที่ประมาณ 9 ตารางเมตร ตรงกลางของกรอบ
ศิลาแลงนี้ขุดพบแท่งศิลาแลงรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ ข้างในกลวง ภายในบรรจุตุ้มหู แหวน
หัวแหวน ตราประทับและชิ้นส่วนก าไลส าริด รอบๆ แท่งศิลาแลงได้ขุดพบลูกปัดหินและลูกปัด
แก้วจ านวนมาก รวมทั้งได้พบพระพุทธรูปดินเผา พิมพ์พระ และเครื่องมือเหล็กจ านวนหนึ่ง
(ภาพที่ 97)
ภาพที่ 97 ภาพลายเส้นโบราณสถานหมายเลข 2 เมืองดงละคร
(ที่มา: กรมศิลปากร, รายงานการขุดค้นและขุดแต่งเมืองดงละคร อ าเภอเมือง จังหวัดนครนายก
(กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2536). 54.)
- โบราณสถานหมายเลข 3
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือนอกเมืองโบราณดงละคร ในบริเวณสวนของนายสมจิตร
อินทยฤทธิ์ ห่างจากโบราณสถานหมายเลข 1 และ 2 ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 200 เมตร
คาดว่าเป็นฐานอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยขุดพบเพียงส่วนมุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคาร
บริเวณมุมอาคารมีแผ่นหินแบนปักอยู่ในแนวตั้ง 1 ก้อน ซึ่งอาจใช้เป็นใบเสมา
64
4.2.8) เมืองโบราณเสมา อ าเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
เมืองโบราณเสมาตั้งอยู่ทางตะวันตกของแอ่งโคราชซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับ
ภาคกลางได้ จึงปรากฏทั้งวัฒนธรรมแบบทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณ และเป็น
65
แหล่งที่ค้นพบจารึกกล่าวถึงบ้านเมืองชื่อ “จนาศปุระ” ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ด้วย
ตัวเมืองเสมามีลักษณะเป็นเมืองที่มีรูปร่างไม่สม ่าเสมอมีแผนผังคล้ายรูปพัด มีคูน ้าและคันดิน
134