Page 122 - ถึงอาวุโส... สมองก็โอเคได้
P. 122
1. ความจํา (memory)
ความจำ คือ ความสามารถของสมองในการจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับ โดยมีการรับ
ข้อมูลเข้าผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ ได้แก่ ตา-มองเห็น หู-ได้ยิน ลิ้น-รับรส จมูก-ได้
กลิ่น ผิวหนัง-รับรู้อุณหภูมิ เย็น ร้อน/หนา นุ่ม อ่อน แข็ง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ถูก
นำเข้าผ่านระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ จัดเก็บในระยะเวลาหนึ่ง และนำข้อมูลนั้นออกมา
ใช้ได้เมื่อต้องการ
กระบวนการของการจำ เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนอันเนื่องมาจากการทำงาน
ของสมองหลายส่วนร่วมกัน เริ่มจากการรับรู้ข้อมูลผ่านระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย
ในการรับรู้นี้เกิดเป็นความจำผ่านการสัมผัส
(sensory memory) เมื่อผ่านกลไกการกรองข้อมูล
และตัดเอาสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจะได้ข้อมูลที่มี
ความหมายและความสำคัญ ซึ่งจะถูกส่งไปเก็บเป็น
ความจำระยะสั้น(short-term memory) และส่วน
หนึ่งของข้อมูลนั้นที่มีความหมาย ได้รับการทบทวน
อยู่บ่อย ๆ ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บยังระบบความจำ
ระยะยาว (long-term memory)
หากมีการเลือกรับรู้ข้อมูลในแต่ละขณะด้วยความใส่ใจ (selective attention)
ส่งผลให้การบันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบความจำ มีความคมชัดและมีรายละเอียดที่ดีด้วย
ทั้งนี้หากมีการทบทวนข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ย่อมส่งผลให้ความจำคงอยู่เป็นระยะเวลา
ยาวนานขึ้น
ความจำมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ การกระตุ้นความจำผ่านการดำเนิน
กิจกรรมจึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกจำ ด้วยการรับเข้า จัดเก็บและนำข้อมูล
ออกผ่านรูปแบบของการตอบคำถาม แสดงท่าทาง นอกจากนี้ความจำยังมีความเกี่ยวพัน
กับความสามารถของสมองในด้านอื่น ๆ
122 ถึงอาวุโส สมองก็โอเคได้