Page 133 - ถึงอาวุโส... สมองก็โอเคได้
P. 133
2. การเลิกบุหรี่
บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคจำนวนมาก เช่น โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคหลอด
เลือดหัวใจ และการสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความบกพร่องทางการรู้คิดและภาวะ
สมองเสื่อม การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ในวัยกลางคน
กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมในช่วงวัยสูงอายุ ดังนั้นการหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดความ
เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น
3. การรับประทานอาหารสุขภาพ
อาหารอาจเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิด
ภาวะสมองเสื่อมทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่าน
ทางปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ และอาหารสุขภาพยังมี
ศักยภาพในการป้องกันความเสื่อมทางการรู้คิด
ทั้งนี้มีการศึกษากันมากในอาหารเมดิเตอร์
เรเนียนที่สามารถลดความเสี่ยงต่อความจำ
บกพร่องเล็กน้อยและโรคอัลไซเมอร์ ควรใส่ใจ
ในการรับประทานปลา ผัก ผลไม้ และถั่วต่าง ๆ
ตลอดจนถึงลดบริโภคน้ำตาล เกลือ ไขมัน
อย่างไรก็ตาม วิตามินบี วิตามินอี กรดไขมันไม่
อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง ยังไม่มีคำแนะนำถึง
การช่วยลดความเสี่ยง
4. การดื่มแอลกอฮอล์
ควรลดหรือเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากเป็น
ปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีรายงานการศึกษาถึงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณ
ต่าง ๆ กับความสามารถทางสมอง แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าการดื่มในปริมาณน้อยถึงปาน
คณะแพทยศาสตร-โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 133