Page 102 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 102
กิจกรรมที ่
3 ฝึกวางแผนรับมือภัยพิบัติ
สาระสําคัญ
หากเกิดภัยพิบัติขึ้น ผู้เรียน อาจเป็นคนกลุ่มแรกที่สามารถดูแลเพื่อนบ้านที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดไฟไหม้
จากแรงสั่นสะเทือน และอันตรายอื่นๆ เพราะเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครป้องกันภัย นักดับเพลิง แพทย์
และเจ้าหน้าที่ ตำรวจ อาจไม่สามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้ทันทีหลังเกิดภัยพิบัติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละคน
จะต้องระบุอันตรายในสถานที่ของตนเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับอันตรายที่อาจเผชิญได้โดย
ไม่ขวัญเสีย และคิดว่าจะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างเกิดภัยพิบัติได้อย่างไร
จุดประสงค์
1. ระบุทรัพยากรและอันตรายในห้องเรียนและในอาคารได้
2. ระดมความคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เป็นไปได้เพื่อลดหรือขจัดอันตรายในห้องเรียน
อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงาน ตามล่าหาอันตราย
2. ใบความรู้ รับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดบ่อยในประเทศไทย
3. กระดาษขนาด A4, กระดาษฟลิบชาร์ท พร้อมปากกา กระดาษกาว
เวลาทีใช้ 60 นาที
่
่
ก่อนเริมกิจกรรม
1. สำรวจล่วงหน้าก่อนจัดกิจกรรมว่าในห้องเรียนและในอาคารที่ใช้จัดกิจกรรม มีเครื่องใช้/เฟอร์นิเจอร์
อะไรบ้าง ที่สามารถนำมาใช้เป็นแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ฝึกวางแผน และเขียนชื่อรายการลงในใบงาน
เพื่อเตรียมแจกให้ผู้เรียน (เช่น บานหน้าต่าง ตู้ทีวี ชั้นที่มีล้อ ตู้วางเอกสาร ฝ้า เพดาน ฯลฯ)
97