Page 103 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 103
้
ขันตอนการดําเนินกิจกรรม
1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4-6 คน จากนั้น ผู้จัดการเรียนรู้ชี้แจงขั้นตอนการทำกิจกรรมโดย
ขอให้ผู้เรียนทุกกลุ่มว่า ให้เวลาแต่ละกลุ่มออกสำรวจข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ระบุไว้ในใบงาน (อยู่ในอาคาร
ที่กำลังจัดกิจกรรม) โดยช่วยกันสำรวจและประเมินว่า หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้
มีความปลอดภัยในระดับใด พร้อมทั้งให้เหตุผล และเสนอความเห็นว่าต้องปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้
มั่นใจว่าปลอดภัยขึ้น (ให้เวลา 30 นาที)
2. หลังจากหมดเวลา ผู้เรียนกลับมารวมกลุ่มกันที่ห้องจัดกิจกรรม พร้อมทั้งเตรียมนำเสนอความเห็น
ของแต่ละกลุ่ม
3. เมื่อนำเสนอครบทุกกลุ่มแล้ว ผู้จัดกิจกรรมชวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมนี้ โดยใช้คำถาม
เพื่อประเมินผลผู้เรียน
. ่
คําถามเพือประเมินผู้เรียน
แต่ละกลุ่มใช้วิธีการอะไรในการประเมินว่า ข้าวของเครื่องใช้ตามรายการในใบงานนั้น มีความปลอดภัย
.
ในระดับใด
เมื่อเปรียบเทียบรายการในใบงานกับข้าวของเครื่องใช้ในห้องเรียนที่สถานศึกษาของเรา คิดว่ามีความปลอดภัย
.
อยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ อย่างไร
มีรายการไหนบ้างที่คิดว่า หากเกิดในโรงเรียนของเรา อาจจะเป็นอันตรายยิ่งขึ้นหากมีผู้เรียนที่นั่งรถเข็น
.
หรือพิการทางร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วเรามีข้อเสนออย่างไร
ผู้จัดการเรียนรู้แจกกระดาษเปล่าให้ผู้เรียนทุกคนเขียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยใหโจทย์ว่า
“อะไรที่สำคัญที่สุดในการวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในโรงเรียน ขอให้เขียนเพียง
1 เรื่อง ลงในกระดาษเปล่า” และส่งคืนผู้จัดการเรียนรู้หลังจบกิจกรรม
98