Page 106 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 106
รับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
่
ทีเกิดบ่อยในประเทศไทย
พายุลมแรง (Storm)
พายุลมแรง เป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน เรามักรู้จักพายุลมแรงในชื่อ
ของพายุต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันทางด้านของความเร็ว เวลา แหล่งกำเนิด และความรุนแรงของพายุ
พายุลมแรงที่พบในประเทศไทย คือ พายุหมุนเขตร้อนและพายุฝนฟ้าคะนอง โดยพายุลมแรงที่ใกล้ตัว
เราทุกคนมากที่สุดและสามารถเกิดได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์
ที่มักมีฟ้าแลบ ฟ้าผ่าเกิดควบคู่ด้วย โดยพบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ถูกฟ้าผ่ามักเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
และพื้นที่ที่มีผู้ถูกฟ้าผ่าแล้วทำให้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุมากที่สุดคือการอยู่ในที่โล่งแจ้ง
. ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศทางสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์
.
รับมืออย่างไรก่อนเกิดพายุลมแรง
.
.
เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินให้อยู่ในที่หยิบง่ายและมีสภาพพร้อมใช้เสมอ
. จัดเก็บเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในอาคารที่สามารถปลิวลมได้ในที่มิดชิด
สังเกตกิ่งไม้ ต้นไม้รอบอาคารตลอดจนป้ายโฆษณาที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยเมื่อมีพายุ แล้วรีบแจ้ง
.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไข
ถ้าอาศัยอยู่ริมทะเลหรือชายฝั่ง ให้เรียนรู้เส้นทางอพยพจากเจ้าหน้าที่
. เรียนรู้แผนฉุกเฉินประจำสถานที่ เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก
.
ทําตัวอย่างไรระหว่างเกิดพายุลมแรง
.
หลบในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อป้องกันลมพัดสิ่งของปลิวมากระแทก
.
อยู่ห่างจากสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
.
ไม่หลบพายุใต้ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรืออยู่ใกล้แนวเสาไฟฟ้า เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับ
ถ้าเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าขณะเกิดพายุลมแรง ต้องรีบถอดเครื่องประดับออกจากตัว ไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นโลหะ
ไม่ใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
101