Page 110 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 110
แผ่นดินไหว (Earthquake)
แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดการสั่นสะเทือน
ของแผ่นดินการสั่นสะเทือนจะมีความรุนแรงและทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเพียงใดขึ้นอยู่กับ
ระดับความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวนั้น ๆ
พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว คือ บริเวณรอยเลื่อนและรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก
สังเกตสัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดแผ่นดินไหว
. น้ำในแม่น้ำมีสีขุ่น
แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดเมื่อใด แต่อาจสามารถสังเกตได้
.
จากเหตุการณ์รอบตัวดังนี้
.
ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง
สัตว์มีพฤติกรรมผิดปกติ
การเตรียมรับมือก่อนเกิดแผ่นดินไหว
1. เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินให้อยู่ในที่หยิบง่ายและมีสภาพพร้อมใช้เสมอ
2. ตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในอาคารให้อยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย
อยู่เสมอ
3. อย่าวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากไว้บนตู้หรือที่สูง เพราะอาจหล่นลงมาทำอันตรายคนที่กำลังหลบที่พื้น
เมื่อเกิดการสั่นสะเทือน
. ออกมาในที่โล่งแจ้ง ห่างไกลจากเสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา หรือต้นไม้สูง เพื่อป้องกันการหักโค่นหรือหล่นมาทับ
.
ทําอย่างไรขณะเกิดแผ่นดินไหว
กรณีที่อยู่ในอาคารบ้านเรือน หาที่หลบกำบังในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมใช้มือกำบังศีรษะและลำคอ
โดยหมอบบริเวณใต้เฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแรง เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ บริเวณที่มีโครงสร้างแข็งแรง เช่น สามเหลี่ยม
. ใต้คาน ช่องว่างรอบอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ไม่อยู่ใกล้เสา ประตู หน้าต่างกระจก และเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถ
.
ล้มลงมาทับได้
ห้ามใช้ลิฟต์โดยสารหรือบันไดหนีไฟ
. หยุดรถ และจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ห้ามจอดรถบริเวณใต้สะพาน บริเวณใกล้ป้ายโฆษณาและต้นไม้
หลังเกิดแผ่นดินไหวทําอย่างไร
. รีบออกจากอาคาร และเคลื่อนย้ายไปตามที่โล่งแจ้ง หรือบริเวณจุดรวมพล
ตรวจสอบและปิดแก๊สรวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด และห้ามก่อให้เกิดประกายไฟ เพื่อป้องกันการระเบิด
.
เนื่องจากการรั่วไหลของแก๊ส
ติดตามสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
105