Page 113 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 113
2. จากนั้น แจกใบความรู้ วิธี “หมอบ คลุม นิ่ง” เมื่อเกิดแผ่นดินไหว และใบความรู้ เมื่อรู้สึกว่าแผ่นดินไหว
หรือได้รับสัญญาณเตือน ให้แก่ทุกคน เพื่อใช้ประกอบการออกแบบกิจกรรม
3. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 6-8 คน และให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากที่เตรียมไว้ จากนั้นให้เวลา
แต่ละกลุ่มในการช่วยกันออกแบบกิจกรรม เพื่อนำมาจัดเป็นกิจกรรมให้กับกลุ่มอื่น (ให้เวลาเตรียมการ
30 นาที) โดยให้โจทย์ว่า
“แต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผน เพื่อออกแบบกิจกรรมตามโจทย์ที่ได้รับ และนำมาสาธิตหน้าห้อง
โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้จัดการเรียนรู้ และเพื่อนกลุ่มที่เหลือทำหน้าที่เป็นผู้เรียน ให้เวลา
ในการสาธิตไม่เกิน 30 นาที”
4. ให้เวลาแต่ละกลุ่มออกแบบกิจกรรม โดยผู้จัดการเรียนรู้คอยให้คำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือในด้าน
อุปกรณ์ที่แต่ละกลุ่มต้องการ
5. เมื่อหมดเวลา ให้ผู้จัดการเรียนรู้จับฉลากข้อความขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หากตรงกับกลุ่มใด ให้กลุ่มนั้นออกมา
สาธิตกิจกรรมที่เตรียมไว้ โดยแสดงบทบาทสมมุติว่ากลุ่มตนเองคือผู้จัดการเรียนรู้ และเตือนกลุ่มอื่น
ให้ทำหน้าที่เป็นผู้เรียน เพื่อให้กิจกรรมออกมาสมจริง โดยผู้จัดการเรียนรู้ทำหน้าที่จับเวลา
6. เมื่อแต่ละกลุ่มสาธิตจบแล้ว ผู้จัดการเรียนรู้กล่าวขอบคุณพร้อมชมเชย และเปิดโอกาสให้เพื่อนกลุ่มอื่น
กล่าวให้กำลังใจในสิ่งที่แต่ละกลุ่มทำได้ดี ก่อนจะใช้คำถามเพื่อประเมินผู้เรียน
. คิดว่ากิจกรรมที่ออกแบบนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ประเมินจากอะไร
่
.
คําถามเพือประเมินผู้เรียน
.
อะไรคือความท้าทายของการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมต่างจากเวลาที่เราสอนในชั้นเรียนอย่างไร
ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทดลองออกแบบกิจกรรม
108