Page 109 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 109

ดินถล่ม (Landslide)


                   การเกิดดินถล่มมีปัจจัยสำคัญมาจากภาวะฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องบนที่ลาดเชิงเขาที่เป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีรากไม้

               ยึดเกาะหน้าดิน เมื่อเกิดฝนตกหนักจะทำให้ดินอุ้มน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้จึงพังถล่มและ
               เลื่อนไหลลงมาจากที่ลาดชัน พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม คือบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ลำห้วย มีร่องรอยดินไหล ดินเลื่อน

               หรือร่องดินถล่มอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจมีทั้งหมด ซึ่งร่องรอยเหล่านี้สามารถสังเกตได้ตามชั้นตะกอนของร่องน้ำ
               หรือพื้นที่บริเวณนั้น จะมีหินทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปะปนกับทราย โคลน รวมทั้งมีซากของต้นไม้ กิ่งไม้
               นอกจากนี้ ต้นไม้บริเวณนั้นจะมีโคนลำต้นเอียงแต่ปลายยอดลำต้นตั้งตรง
                .    มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง (นานกว่า 6 ชั่วโมง หรือมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
                .
               สัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดดินถล่ม
                .
                .
                     ระดับน้ำในห้วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
                .
                     น้ำในห้วยเปลี่ยนเป็นสีขุ่นหรือสีเดียวกับดินภูเขา
                .

                     มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลมาพร้อมกับน้ำ
                     สัตว์มีพฤติกรรมผิดปกติ
                .    มีเสียงดังผิดปกติมาจากภูเขาหรือลำห้วย
                .
               เตรียมรับมืออย่างไรก่อนเกิดดินถล่ม
                .
                     ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศแจ้งเตือนภัย
                .
                     เตรียมกระเป๋าฉุกเฉินให้อยู่ในที่หยิบง่ายและมีสภาพพร้อมใช้เสมอ
                .

                     เรียนรู้เส้นทางอพยพอย่างน้อย 2 เส้นทาง เพราะเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งอาจใช้การไม่ได้
                .    ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรจัดเวรยามเฝ้าระวัง
                     นัดหมายวิธีการติดต่อและสถานที่นัดพบกับสมาชิกหากกรณีพลัดหลงเมื่อเกิดดินถล่ม รวมทั้งวิธีการติดต่อ
                       ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่อยู่นอกพื้นที่ประสบภัย
                     สังเกตความผิดปกติของสัญญาณธรรมชาติที่เป็นสัญญาณเตือนก่อนเกิดดินถล่มโดยเฉพาะในเวลากลางคืน

                       ซึ่งมักเกิดน้ำหลากและดินถล่ม
                .    กรณีอยู่ในบ้านหรืออาคารให้ขึ้นไปหลบที่ชั้นบนสุดหรือหาที่กำบังที่แข็งแรง
                .
               ขณะเกิดดินถล่มต้องทําอย่างไร


                     การหนีภัยดินถล่ม ให้นำเฉพาะกระเป๋าฉุกเฉินไป จากนั้นหนีไปตามเส้นทางที่พ้นจากแนวการไหลของดินถล่ม

                       แล้วขึ้นไปบนที่สูงหรือที่ปลอดภัย หากจำเป็นต้องใช้เส้นทางผ่านทางน้ำให้ใช้เชือกผูกลำตัว แล้วยึดไว้กับ
                       ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพัดไป
                .

               หลังเกิดดินถล่มทําอย่างไร
                .    สำรวจความเสียหายและผู้ที่อาจได้รับบาดเจ็บ แล้วหาวิธีแก้ไขและช่วยเหลือโดยด่วน
                     ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่เกิดดินถล่มหรือบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายเพื่อป้องกันอันตราย จากการพังทลายซ้ำ
                       และการเกิดน้ำท่วมหรือดินถล่มซ้ำ









                                                                                                                104
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114