Page 122 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 122
กิจกรรมที ่
5 รู้รับปรับตัว ่
่
สร้างการสือสารเพือรับมือภัยพิบัติ
สาระสําคัญ
กิจกรรมนี้มุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่องภัยพิบัติและการรับมือ มาปรับใช้ในครัวเรือน
เพื่อฝึกฝนการเตรียมความพร้อมในการรับมือและสามารถเป็นตัวอย่างให้กับผู้อื่นได้
จุดประสงค์
1. เห็นตัวอย่างการวางแผนรับมือภัยพิบัติในครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิก
2. มีวิธีการสื่อสารเพื่อให้แผนการรับมือภัยพิบัติ เป็นที่รับรู้ร่วมกันในสถานศึกษาและในครอบครัว
3. ได้ตัวอย่างการวางแผนที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในห้องเรียน
อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงาน ตัวอย่างการวางแผนรับมือภัยพิบัติในครอบครัว
2. ใบงาน ตัวอย่างรายการสำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ในบ้าน เพื่อความปลอดภัยหากเกิดภัยพิบัติ
3. กระดาษขนาด A4, กระดาษฟลิบชาร์ท ปากกา สีชนิดต่างๆ กรรไกร กระดาษกาว
่
เวลาทีใช้ 60 นาที
้
ขันตอนการดําเนินกิจกรรม
1. ผู้จัดการเรียนรู้ย้อนความถึงกิจกรรมที่ผ่านมา โดยเชื่อมโยงกับหลักการสำคัญของการจัดทำแนวทาง
การลดความเสี่ยง และการเสริมสร้างการรู้รับปรับตัวว่าจะต้องคำนึงถึง "ทุกภาคส่วนของสังคม" และ
“ภัยทุกรูปแบบ” ทุกคนจะได้รับแจกใบความรู้พร้อมใบงาน เพื่อนำไปสำรวจในบ้านของแต่ละคน เพราะ
ครอบครัว ก็คือส่วนหนึ่งของสังคม หากเรามีความรู้และมีทักษะในการรับมือภัยพิบัติในบ้านได้ ก็จะสามารถ
ช่วยเผยแพร่ความรู้และร่วมมือกับเพื่อนบ้าน จนถึงระดับชุมชนให้มีความรู้ มีแนวทางในการรู้รับปรับตัว
และมีความพร้อมในการรับมือกับภัยทุกรูปแบบ
117