Page 123 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 123
2. จากนั้น แจกใบความรู้และใบงานที่เตรียมไว้ ให้กับทุกคน พร้อมชี้แจงว่า รายการต่างๆ ที่อยู่ในใบความรู้
คือตัวอย่างของการสำรวจว่าบ้านที่เราอาศัยอยู่นี้ได้มีการเตรียมการ และมีความพร้อมในการรับมือหากเกิด
ภัยพิบัติหรือไม่ พร้อมทั้งมีใบงาน ซึ่งเปรียบเสมือนแบบสำรวจในการสร้างการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในบ้าน
และอธิบายเพิ่มเติมว่า แต่ละข้อในรายการที่ให้สำรวจนั้น สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมแก้ไข เพื่อให้สอดคล้อง
กับลักษณะที่อยู่อาศัยของแต่ละคนได้ โดยขอให้แต่ละคนนำกลับไปพิจารณาที่บ้านพร้อมกับสมาชิก
3. จากนั้น ชวนผู้เรียนคิดวิเคราะห์ถึง แนวทางการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และนักเรียนในโรงเรียน
ของเราตระหนักถึงแนวทางการลดความเสี่ยงและการเสริมสร้างการรู้รับปรับตัวเรื่องภัยพิบัติ
และความเสี่ยงทุกรูปแบบ ว่าจะสามารถทำได้ด้วยรูปแบบใด วิธีการใด โดยเชื่อมโยงจากความรู้ที่เรา
ได้เรียนรู้มา แล้วแบ่งกลุ่มย่อยผู้เรียนออกเป็น 4-6 คนต่อกลุ่ม เพื่อให้ช่วยกันออกแบบแนวทางการสื่อสาร
เรื่องการรับมือภัยพิบัติในสถานศึกษา (ให้เวลา 20 นาที)
4. เมื่อหมดเวลา ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแนวทางการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และนักเรียน
ในโรงเรียนของเราตระหนักถึงแนวทางการลดความเสี่ยงและการเสริมสร้างการรู้รับปรับตัวเรื่อง
ภัยพิบัติและความเสี่ยงทุกรูปแบบ ก่อนจะชวนผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ โดยใช้คำถามเพื่อประเมินผลผู้เรียน
. หากจะนำแนวทางการลดความเสี่ยงและการเสริมสร้างการรู้รับปรับตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติ
่
คําถามเพือประเมินผู้เรียน
. แนวทางที่นำเสนอมานี้ สามารถนำไปใช้ในชุมชนของแต่ละคนได้ด้วยหรือไม่
ของแต่ะกลุ่ม ที่นำเสนอมานั้น ไปปรับใช้ได้จริง ต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง
หากอยากให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม ควรทำอย่างไร
118