Page 125 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 125
〇 ครอบครัวทำสำเนาเอกสารสำคัญและเก็บไว้ใน กระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย
〇 ครอบครัวได้สำรวจเฟอร์นิเจอร์ สายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตาแก๊ส ฝ้า เพดาน ผนังห้องและอุปกรณ์ในบ้าน
ที่อาจก่อให้ให้เกิดอันตราย
〇 ในบ้านมีเครื่องดับเพลิงที่พร้อมใช้งาน และทุกคนรู้วิธีใช้เครื่องดับเพลิงในบ้าน
〇 ในบ้านมีการแยกวัตถุไวไฟไว้ในที่ปลอดภัย
〇 ทุกคนเก็บรองเท้าและไฟฉายแบบใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กไว้ข้างเตียง
〇 ทุกคนรู้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขณะที่กำลังทำอาหาร ก่อนจะหาสถานที่ที่ปลอดภัย ต้องปิดเตาแก๊ส เตาอบก่อน
〇 เราพูดคุยกันในครอบครัวเสมอถึงสิ่งที่จะทำหลังเกิดแผ่นดินไหว
เตือนความจํา
• หมั่นเตือนทุกคนว่าอย่าตื่นตระหนก ตั้งสติให้มั่นหากเกิดภัยพิบัติ
• เตรียมพร้อมสำหรับอาฟเตอร์ช็อก (แผ่นดินไหวซ้ำ) หากเกิดอาฟเตอร์ช็อกให้หลบในสถานที่ที่ปลอดภัย
สําหรับผู้นําครอบครัว
• รู้วิธีทำการปฐมพยาบาลได้ทันทีหากมีใครได้รับบาดเจ็บ
• รู้ตำแหน่งแผงสวิตช์ไฟ หากสงสัยว่าอาจเกิดความเสียหาย ให้ปิดแผงสวิตช์ไฟหลัก อย่าเปิดหรือปิดสวิตช์ไฟ
• รู้วิธีปิดวาล์วแก๊ส หากสงสัยว่ามีแก๊สรั่ว และสามารถค้นหาการรั่วไหลของก๊าซด้วยกลิ่นจากไม้ขีดหรือเทียน
• รู้วิธีปิดวาล์วน้ำทั้งภายในและภายนอก
➟ สมาชิกทุกคนรู้ว่าหลังแผ่นดินไหว ไม่ควรจุดไม้ขีดหรือเทียนจนกว่าจะแน่ใจได้ว่าไม่มีแก๊สรั่ว
➟ สมาชิกทุกคนมีกระเป๋าฉุกเฉินที่บรรจุสิ่งของจำเป็นซึ่งสามารถอยู่ได้ 3 วันหากต้องอพยพออกจากบ้าน
➟ ครอบครัวหมั่นทบทวนแผนการอพยพเพื่อรับมือภัยพิบัติทุกหกเดือน
➟ แนะนำเพื่อนบ้านให้วางแผนการอพยพเพื่อรับมือภัยพิบัติร่วมกัน
.
120