Page 124 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 124
ตัวอย่างการวางแผนรับมือภัยพิบัติในครอบครัว
พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว และทำเครื่องหมาย 〇 ในข้อที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน หากมีข้อไหนที่ยังไม่เคยทำ
✓
หรือยังทำไม่เรียบร้อย หรือไม่สอดคล้องกับสภาพบ้าน ชวนกันปรับข้อความให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของบ้าน
และวางแผนเพื่อรับมือ
แผนรับมือภัยพิบัติในครอบครัว
〇 มีสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดในบ้านของเราสำหรับหลบภัย (เช่น หลบใต้โต๊ะในครัวหรือโต๊ะไม้เนื้อแข็ง)
〇 สมาชิกในครอบครัวระบุสถานที่ที่อันตรายที่สุดในแต่ละห้องได้ (เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ใกล้หน้าต่าง
ตู้หนังสือ กระจกบานใหญ่ ตู้เก็บของ ของแขวนบนผนัง เตาอบ หรือเตาแก๊ส)
〇 มีแผนการอพยพออกจากห้องแต่ละห้องในบ้านของเรา
〇 สมาชิกในครอบครัวรู้จักทางออกฉุกเฉินเพื่อออกจากบ้านหรือตึกที่เราอาศัยอยู่โดยเร่งด่วน
〇 สมาชิกในครอบครัวรู้ว่าหากอยู่ในอาคารชั้นเดียวในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว ให้ออกจากอาคารอย่างรวดเร็ว
ด้วยความระมัดระวัง ถ้าไม่สามารถออกจากอาคารได้ ทุกคนรู้ว่าต้องปฏิบัติดังนี้ “หมอบ คลุม นิ่ง”
1. คุกเข่าอยู่ในท่าที่มั่นใจว่าปลอดภัย
2. คลานเข้าไปหมอบใต้โต๊ะที่มีความแข็งแรง
3. ก้มหัวลงให้ติดพื้นและหลับตา
4. อยู่นิ่งในท่านั้นจนกว่าพื้นห้องจะหยุดสั่น
〇 สมาชิกในครอบครัวรู้ว่าจะโทรติดต่อใครหากเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย
ระบุชื่อคนหรือหน่วยงาน: …………………………………………………………………………………………………………….
〇 สมาชิกในครอบครัวรู้จุดนัดพบหลังจากเกิดแผ่นดินไหว
จุดนัดพบนอกบ้าน: ___________________________________________________________
จุดนัดพบบนถนน: ___________________________________________________________
จุดนัดพบนอกหมู่บ้าน: ___________________________________________________________
119