Page 201 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 201
แบบฟอร์ม #11. ตารางทีมตอบสนองระบบบัญชาการเหตุการณ์
แบบยืดหยุ่นสําหรับโรงเรียน
ผู้บัญชาการเหตุการณ์ (IC)
มักเป็นผู้นำตามธรรมชาติหรือผู้ที่อาวุโสและมีประสบการณ์มากที่สุดที่อยู่ในที่เกิดเหตุเมื่อเริ่มต้นเหตุการณ์ อย่ารอให้
มีคนมาทำหน้าที่นี้ สามารถโอนหน้าที่ได้เมื่อมีโอกาส IC จะขอให้ผู้จัดการที่มีความสามารถมากที่สุดเป็นผู้นำฝ่ายปฏิบัติการ
และขอให้คนที่รู้จักพื้นที่และทรัพยากรดีที่สุด รวมทั้งเก่งในการประสานงานร่วมกันเป็นผู้นำฝ่ายสนับสนุน สำหรับ
โรงเรียนขนาดเล็ก แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่ บทบาทต่างๆ สามารถแบ่งย่อยได้มากขึ้นและอาจมี
หลายทีม ไม่ควรมีใครที่มีคนรายงานตรงต่อตนมากกว่า 7 คน
ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความต้องการ หัวหน้าแต่ละฝ่ายจะเลือกหัวหน้าทีมเพื่อนำทางบทบาทและความรับผิดชอบอื่นๆ
ในกลุ่มเล็กๆ ผู้ใหญ่บางคนอาจมีมากกว่าหนึ่งบทบาท ในกรณีที่ไม่มีอันตราย นักเรียนที่โตกว่าและมีความสามารถ
อาจมีบทบาทเป็นผู้นำได้ และนักเรียนคนอื่นๆ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
กำหนดหน้าที่เริ่มต้นและตัวสำรองตามทักษะ แผนภูมินี้สามารถใช้กรอกชื่อด้วยดินสอได้ เนื่องจากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง
ตามเวลา ตามความต้องการของสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และเมื่อคนต้องการพัก
ตัวสำรอง
ผู้นำ นักเรียนและอาสาสมัคร
และสมาชิกในทีม
ผู้บัญชาการเหตุการณ์
การสื่อสาร
ความปลอดภัย
ฝ่ายปฏิบัติการ
การดับเพลิง/ค้นหา
และกู้ภัยเบื้องต้น
การประเมินความเสียหาย
และการควบคุมสาธารณูปโภค
การปฐมพยาบาล
/การสนับสนุนด้านจิตสังคม
ความปลอดภัยพื้นที่
การดูแลนักเรียน
การอพยพ/การรวมครอบครัว
ฝ่ายสนับสนุน
ที่พักพิงและสุขาภิบาล
น้ำและอาหาร
การขนส่ง
196