Page 31 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 76 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
P. 31

จรรยาบรรณวิศวกร
















                                  จรรยาบรรณวิศวกร พ.ศ. ๒๕๕๖




                             สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


                วัตถุประสงค์ เพื่อให้สมาชิก วสท. และวิศวกรประพฤติ ปฏิบัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอย่างมี คุณภาพคุณธรรม มีจรรยาบรรณ
            ค�านึงถึงความปลอดภัย และประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก จึงต้องออก จรรยาบรรณวิศวกร พ.ศ. ๒๕๕๖ ฉบับนี้

                โดยอ�านาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิ และจรรยาบรรณ จึงได้ปรับปรุงจรรยาบรรณวิศวกรขึ้นใหม่ เพื่อให้สมาชิก วสท. เข้าใจ
            ในจรรยาบรรณวิศวกรโดยง่าย และในทิศทางเดียวกัน

                งานของวิศวกรมีผลต่อการพัฒนาอารยธรรม การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการปรับปรุงมาตรฐานการ
            ครองชีพของมนุษย์ การที่จะท�าให้งานดังกล่าว มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลนั้น วิศวกรทั้งหลายจักต้องเพียรพยายามเพิ่มพูนความรู้
            และทักษะทางวิศวกรรมของตนและต้องด�ารงตน และปฏิบัติงานให้สาธารณชนรับรู้ ยอมรับ และเชื่อถือศรัทธาในงานวิชาชีพวิศวกรรม
            ด้วยความเต็มใจ โดยยึดหลักข้อปฏิบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:

                -  สร้างทักษะ และความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
                -  มีความซื่อสัตย์ ต่อสาธารณชน เจ้าของงาน ผู้เกี่ยวข้อง และเพื่อนร่วมวิชาชีพ
                -  มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบในการประกอบวิชาชีพ
                -  สร้างความเชื่อถือ ไว้วางใจ ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล

            ดังนั้น วิศวกรจึงต้องมีความประพฤติที่ดีที่เหมาะสม เพื่อสร้างศรัทธาต่อสาธารณชนโดยยึดหลักตาม จรรยาบรรณวิศวกรที่ก�าหนดไว้ :
            ข้อ ๑. จรรยาบรรณนี้ เรียกว่า “จรรยาบรรณวิศวกร พ.ศ. ๒๕๕๖”

            ข้อ ๒. ให้ยกเลิก “จรรยาบรรณวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒” และให้ใช้จรรยาบรรณวิศวกรฉบับนี้แทน

                (๑) จรรยาบรรณ หมายความว่า หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม และจริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
            โดยยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพวิศวกรรม

                (๒) วิศวกร หมายความว่า ผู้ประกอบงานด้านวิศวกรรม โดยการน�าความรู้ทางวิศวกรรม มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์
            ในงานของวิศวกรสาขาต่าง ๆ เช่น : โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ

                (๓) งานวิศวกรรม หมายความถึง:

                  (ก) งานให้ค�าปรึกษา ตรวจวินิจฉัย ตรวจรับรองงาน
                  (ข) งานศึกษา วิเคราะห์ วางแผน และจัดการโครงการ
                  (ค) งานค�านวณออกแบบ
                  (ง) งานควบคุม สร้าง ผลิต ติดตั้ง ซ่อมแซม ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย
                  (จ) งานพิจารณาตรวจสอบ ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทดสอบ ตรวจสอบวินิจฉัย สอบทาน งานสอน และบรรยาย
                  (ฉ) งานอ�านวยการใช้ บ�ารุงรักษา
                  (ช) งานวิศวกรรมพิเศษอื่นๆ




                                                                                                    วิศวกรรมสาร  31
                                                                                     ปีที่ 76 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36