Page 33 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 76 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
P. 33

จรรยาบรรณวิศวกร






               หมวดที่ ๔ ว่าด้วย ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ


               ข้อ ๖. วิศวกรต้องใช้ความรู้ และความช�านาญในงานวิชาชีพอย่างซื่อสัตย์ เป็นธรรม รักษาผลประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้:

                   (๑)  ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตในฐานะที่ตนเป็นตัวแทน หรือได้รับการว่าจ้างจากเจ้าของงาน
                   (๒) เปิดเผยตนเองต่อเจ้าของงาน และผู้เกี่ยวข้องก่อนรับด�าเนินการ เพื่อความโปร่งใส
                   (๓) ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบธรรม ไม่ใช้อ�านาจหน้าที่โดยมิชอบ ไม่แอบแฝงด้วยอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใดๆ
                   (๔) ไม่เรียก หรือรับผลประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากค่างานตามวิชาชีพ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
                   (๕) ไม่ปิดบังหรือซ่อนเร้นผลประโยชน์ต่อเจ้าของงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งตนมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีผลกระทบต่อธุรกิจของ

                     เจ้าของงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
                   (๖) ไม่รับท�างาน เดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอื่นท�าอยู่ เว้นแต่เป็นการท�างานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้ง
                     ให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอื่นนั้น ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
                   (๗) ไม่รับท�างานเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับความ
                     ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรกกับได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว


               หมวดที่ ๕ ว่าด้วย ชื่อเสียง และผลงาน


               ข้อ ๗. วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากผลงาน โดยปฏิบัติตามจริยธรรม และจรรยาบรรณ โดยค�านึงถึงชื่อเสียง และวิชาชีพ

                   (๑) ไม่แอบอ้าง ไม่คัดลอก หรือไม่ดัดแปลงผลงานไม่ว่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของวิศวกรผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต
                   (๒) เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ ผลงาน และต�าแหน่งหน้าที่ของตนเอง
                   (๓) แข่งขันเพื่อให้ได้งานอย่างยุติธรรม
                   (๔) ไม่เสนอหรือรับสิ่งตอบแทนใดๆ ที่ขัดต่อหลักกฎหมาย
                   (๕) มีความศรัทธา รักษาศักดิ์ศรี และสิทธิในวิชาชีพ เพื่อชื่อเสียง และผลงานวิศวกรรมที่ดี
                   (๖) ไม่โฆษณาหรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณาเกินขอบเขตและเกินความเป็นจริงในความรู้ความสามารถของตน
                   (๗) หลีกเลี่ยงการกระท�าใดๆ ที่จะน�าความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ


               หมวดที่ ๖ ว่าด้วย จรรยาบรรณของกรรมการ และอนุกรรมการ



               ข้อ ๘. กรรมการและอนุกรรมการเป็นบุคคลที่มีหน้าที่และผลกระทบต่อสมาคม สมาชิก และสังคมโดยตรง สมควรมีจรรยาบรรณส�าหรับ
               กรรมการและอนุกรรมการ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังต่อไปนี้

                   (๑) ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของ วสท. โดยเคร่งครัด
                   (๒) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของ วสท. โดยเคร่งครัดเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสมาชิก วิศวกร และสังคม
                   (๓)  รักษา และสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณของ วสท. ให้เป็นที่ยอมรับยกย่องโดยทั่วไป
                   (๔) ด�าเนินการอย่างเต็มความสามารถให้เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ในการเสนอตัวเข้ารับเลือกตั้งหรือ รับแต่งตั้ง ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
                   (๕) มีวินัยในการเข้าประชุมอย่างสม�่าเสมอ
                   (๖) เคารพและปฏิบัติตามมติของที่ประชุม
                   (๗) ใช้วาจาท่าทีที่สุภาพ มีมารยาทให้เกียรติ และเคารพสิทธิ์ต่อผู้อื่น
                   (๘)  สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
                   (๙) ต้องไม่ใช้อ�านาจหรืออิทธิพลใด ๆ ต่อการตัดสินใจ การจ�ากัดการตัดสินใจ หรือจ�ากัดการด�าเนินการใด ๆ ของกรรมการ
                     อนุกรรมการ และสมาชิก โดยไม่ชอบธรรม



                                                                                                    วิศวกรรมสาร  33
                                                                                     ปีที่ 76 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38