Page 30 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 30
โบราณสถานสมัยทวารวดีประเภทสุดท้ายคือ สิ่งก่อสร้าง
สาธารณูปโภค โดยเฉพาะที่ท าขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการน ้า
ที่ส าคัญที่สุดคือ โบราณสถานคอกช้างดินและแนวเขื่อนโบราณที่เมือง
55
อู่ทอง นอกจากนี้ยังได้พบบ่อน ้าศักดิ์สิทธิ์คือสระแก้วที่อยู่นอกเมือง
ศรีมโหสถ และบ่อน ้ารูปวงกลมซึ่งตัดลงไปในพื้นศิลาแลงธรรมชาติที่
บ้านหัวซา อ าเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี บริเวณเดียวกันนี้ยังได้พบ
แนวคันดินโบราณที่เรียกว่า “ถนนพระรถ” ซึ่งสันนิษฐานว่าคงท าขึ้นเพื่อ
บังคับน ้าอีกด้วย
ประติมากรรมสมัยทวารวดี
งานประติมากรรมสมัยทวารวดีแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ
ได้แก่
1. ประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องในศาสนา
มีทั้งพุทธปฏิมาที่ท าจากหิน (ส่วนมากเป็นหินทรายสีเขียว) และ
โลหะ ส่วนใหญ่เป็นงานในพุทธศาสนาลัทธิหีนยานหรือเถรวาท แต่ก็มีรูป
พระโพธิสัตว์ของพุทธศาสนานิกายมหายาน และพบเทวรูปของศาสนา
พราหมณ์อยู่ด้วย โดยต้นแบบส าคัญอยู่ที่ศิลปะอินเดีย (ศิลปะอมราวดี
คุปตะ หลังคุปตะ และปาละ) และยังเกี่ยวข้องกับศิลปะอื่นๆ ทั้งศรีวิชัยและ
เขมรโบราณด้วย
ส าหรับพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริงนั้นมี
พุทธลักษณะเฉพาะคือ หากประทับนั่งจะขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ แต่ก็มี
ที่ประทับนั่งห้อยพระบาท รวมทั้งมีพระพุทธรูปนาคปรก และพระพุทธรูป
นอนด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วพระพุทธรูปทวารวดีมักประทับยืนตรง ขอบจีวร
ตกลงมาเท่ากันทั้ง 2 ข้าง นิยมแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) ทั้ง 2
พระหัตถ์ และพระพักตร์มักมีพระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกา
56
พระนาสิกแบน และพระโอษฐ์หนา (ภาพที่ 10)
19