Page 27 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 27

นอกจากอิฐแล้วก็ยังมีวัสดุอื่นๆ คือ ศิลาแลง ซึ่งมักใช้ก่อเป็น
              ส่วนฐานอาคาร หรือบางครั้งใช้ท าเป็นส่วนยอดของเจดีย์ เช่นที่เมือง
              ศรีมโหสถซึ่งจะใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ส าหรับการประดับ

              ตกแต่งอาคารศาสนสถานนิยมใช้ดินเผาและปูนปั้น เพราะเมื่อใช้อิฐและศิลา
              แลงในการก่อสร้างซึ่งสลักได้ยาก จึงตกแต่งศาสนสถานด้วยประติมากรรม
              ดินเผาหรือปูนปั้น ภาพที่พบมากคือชาดกเล่าเรื่องในพุทธศาสนา และรูป
              คณะ (หรือคนแคระ) ที่ประดับภายในช่องสี่เหลี่ยมตรงส่วนฐาน
                       ศาสนสถานกลางแจ้งที่ส าคัญๆ ในสมัยทวารวดี ได้แก่ พระประ

              โทณเจดีย์ จุลประโทณเจดีย์ (ภาพที่ 7) วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม
              วัดโขลง เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เจดีย์ทุ่งเศรษฐี จังหวัดเพชรบุรี
              เขาคลังนอกและเขาคลังใน เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ภาพที่ 8)
              ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา โดยมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่
              เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ศิลปะทวารวดีคือ เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จ
              หรือย่อมุม (ภาพที่ 9) ทว่าเราก็ได้พบร่องรอยเทวสถานหรือเทวาลัยของ

              ศาสนาพราหมณ์อยู่ด้วย เช่นที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมือง
              ศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
                       ส่วนถ ้าศาสนสถานสมัยทวารวดีจะไม่มีการดัดแปลงโครงสร้าง
                                         54
              ของถ ้าหรือขุดขึ้นตามแบบอินเดีย   แต่เป็นเพียงการแกะสลักหรือปั้นปูน
              เป็นภาพทางพุทธศาสนาลงไปบนผนังถ ้าหินปูนธรรมชาติ ได้แก่
              ถ ้าพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี  ถ ้าเขาถมอรัตน์ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มถ ้า
              แถบเทือกเขางู จังหวัดราชบุรี  ถ ้ายายจูงหลาน จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้ง
              ภาพสลักพระพุทธรูปตามเพิงผาหินทรายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
              เช่น ภูพระ จังหวัดชัยภูมิ ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ภูปอ จังหวัดกาฬสินธุ์
              โดยถ ้าและเพิงผาเหล่านี้คงใช้ส าหรับภิกษุที่อาศัยอยู่นอกเขตเมือง







                                          16
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32